สืบฮีตสานฮอย ตามรอยปราชญ์ชุมชน: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • นภาพร หงษ์ทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระปลัดสุกฤษฎิ์ ปิยสีโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระครูศรีวรพินิจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ชูชาติ สุทธะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์, การสืบสานมรดกวัฒนธรรม, การมีส่วนร่วมของชุมชน, วัดพระธาตุดอยหยวก

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่ ทุนวัฒนธรรมและความต้องการของชุมชนวัดพระธาตุดอยหยวก อำเภอปง จังหวัดพะเยา และพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในวัดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 25 รูป/คน ได้แก่ พระสงฆ์ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน แกนนำกลุ่มในชุมชนบ้านหนุน และชุมชนบ้านดง เทศบาลตำบลปง มหาวิทยาลัยพะเยา โรงเรียนวัดนาปรังวิทยา กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนบ้านหนุนและบ้านดง จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการลงพื้นที่สำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และปฏิบัติการพัฒนากิจกรรม ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า (1) วัดพระธาตุดอยหยวกเป็นโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของอำเภอปง จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่ที่มีทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น มีพระธาตุเจดีย์ที่เชื่อว่า บรรจุพระเกศาและพระอัฐิจักษุของพระพุทธเจ้า มีวิหารไม้เก่าแก่ที่ทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมล้านนา มีลานหญ้าสีเขียวและสวนป่าสมุนไพรโดยรอบบริเวณ มีเจ้าอาวาสวัดเป็นปราชญ์สมุนไพร และปราชญ์ชุมชนอีกหลายท่าน มีประเพณีท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ คือ งานขึ้นธาตุแปดเป็ง (2) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในวัดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา ภูมิปัญญา วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น โดยบูรณาการความรู้จากปราชญ์ชุมชน พระสงฆ์ และนักวิชาการ รวมถึงการใช้สื่อเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นทุกขั้นตอน องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า การที่วัดมีพื้นที่เป็นรมณียสถานและมีทุนวัฒนธรรมตามหลักสัปปายะ มีปราชญ์ชุมชนและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ คอยถ่ายทอดความรู้ให้ด้วยความรักความใส่ใจ ควบคู่กับพลังชุมชนและเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานสรรสร้างพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลายและบูรณาการ รวมทั้งความต้องการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น วัดจึงได้กลับมาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน ที่ทำให้เด็ก เยาวชน และคนในชุมชน มีความสุขในการเรียนรู้ไปพร้อมกับมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นภายในชุมชนอีกด้วย

References

กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล. (2566). กระบวนการในการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 18 (2), 47-60.

ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย. (2560). คิดนอกกรอบ: พื้นที่แห่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัย. วารสารครุศาสตร์. 45 (1), 354-357.

นภาพร หงษ์ทอง และคณะ. (2563). 9 พระธาตุ 9 อำเภอ: จากตำนานสู่การเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาในจังหวัดพะเยา. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์. 4 (1), 1-15.

แผนพัฒนาหมู่บ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566 บ้านหนุน ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา. (เอกสารอัดสำเนา)

แผนพัฒนาหมู่บ้าน ประจำปี พ.ศ. 2567 บ้านดง ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา. (เอกสารอัดสำเนา)

พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข และคีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2558). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 12 (1-2), 106-123.

พระครูพิทักษ์เจติยสุนทร (คำมา จนฺทูปโม). (2566). เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยหยวก ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 10 ธันวาคม.

มานะ ไชยสถาน. (2557). เล่าขานอดีตและฮีตฮอยประเพณี วัดพระธาตุดอยหยวก “ขึ้นธาตุแปดเป็ง”. พะเยา: ร้านต้นกล้าวิชาการ.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ศิรินทิพย์ อิสาสะวิน. (30 พฤศจิกายน 2553). วัดต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=246301

สหัทยา วิเศษ และคณะ. (2567). แนวทางการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในเมืองเก่าพะเยาด้วยทุนวัฒนธรรมชุมชน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 9 (2), 414-434.

อาทิตยา บุญมาดำ และคณะ. (2566). การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนลุ่มน้ำปาย ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 8 (3), 620-639.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-09

How to Cite

หงษ์ทอง น., พระปลัดสุกฤษฎิ์ ปิยสีโล, พระครูศรีวรพินิจ, วิเศษ ส., & สุทธะ ช. (2025). สืบฮีตสานฮอย ตามรอยปราชญ์ชุมชน: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน . วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 10(1), 171–192. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/276920