รูปแบบการเรียนรู้เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนรู้, การบริหารการเปลี่ยนแปลง, ผู้ประกอบการ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้เพื่อบริหารความเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มย่อย รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลัก วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยตีความเพื่อสร้างข้อสรุปยืนยันข้อมูลจากกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 13 ราย
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบ 5 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการบริหาร 3) ด้านการเรียนรู้ 4) ด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวก และ 5) การโน้มน้าวใจ และแบ่งเป็นประเภทของผู้ประกอบการได้ 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวเชิงเลียนแบบ 2) ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวแนววิถีชีวิต 3) ผู้ประกอบการทางด้านการท่องเที่ยวแนวสังคม และ 4) ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงแฝงเร้น และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกลับการดำเนินชีวิต คือ การเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่อาศัยประสบการณ์การใช้ชีวิต เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความสามารถในการพัฒนาการบริหารธุรกิจ การเรียนรู้ประเภทนี้จะไม่เน้นหลักสูตรและเวลาเรียนที่แน่นอน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต มีการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จำนวน 3 แหล่ง ได้แก่ 1) การเรียนรู้ตามอัธยาศัยจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 2) การเรียนรู้ตามอัธยาศัยจากเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน และ 3) การเรียนรู้ตามอัธยาศัยจากแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาในชุมชน นำไปสู่พฤติกรรมของผู้ประกอบการในการบริหารการเปลี่ยนแปลงธุรกิจทั้ง 8 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านภาวะผู้นำ ด้านวิธีการสื่อสาร ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ด้านการเจรจาต่อรอง ด้านการแทรกแซงและการสร้างแนวร่วม และด้านการบังคับ เพื่อนำสถานประกอบการให้ประสบความสำเร็จและดำรงอยู่อย่างมั่นคงในสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ การได้รูปแบบการเรียนรู้เพื่อบริหารความเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการนำรูปแบบการเรียนรู้ฯ ดังกล่าวไปใช้กำหนดนโยบายหรือแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามเป้าหมายการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์ต่อไป
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 4/2562. ใน กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. รายงานสภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว, หน้า 22–47. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2566–2570. อุตรดิตถ์: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์.
เกษสุดา บูรณศักดิ์สถิตย์. (23 สิงหาคม 2564). แนวทางการปรับตัวสู่โลกธุรกิจยุค New Normal ของการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อมุ่งสร้างธุรกิจใหม่. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2567, จาก https://bsru.net/%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%aa%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81-2/
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา.
โชติรส สมพงษ์ และสาโรช เผือกบัวขาว. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 11 (1), 310-327.
พัทธมน ธุระธรรมานนท์ และกังวาน ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์. (2565). ปัจจัยธุรกิจ คุณลักษณะของผู้ประกอบการและการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่นำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจเบเกอรี่บนออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจ
ศรีนครินทรวิโรฒ. 13 (1), 16-31.
วีระศักดิ์ ยั่งยืน. (2561). แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สรณ โภชนจันทร์ และคณะ. (2563). คุณลักษณะผู้ประกอบการเพื่อสังคมในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 6 (3), 31-43.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563). การเรียนรู้ตลอดชีวิต ใน กลุ่มยุทธศาสตร์กำลังคนในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. รายงานการศึกษา การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อรองรับการพลิกโฉมฉับพลันและวิกฤตการณ์โลก, หน้า 12-15. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ. ใน ศูนย์บริการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประเด็นการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561-2580, หน้า 8–20. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อติคุณ เลรามัญ และคณะ. (2564). การพัฒนาสินค้าของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10 (4), 306–318.
Koh, K Y. and Hatten, T. S. (2002) The Tourism Entrepreneur: The Overlooked Player in Tourism Development Studies. International Journal of Hospitality & Tourism Administration. 3 (1), 21-48. DOI:10.1300/J149v03n01_02
Kolb, A. Y. and Kolb, D. A. (2005). Learning Styles and Learning Spaces: Enhancing Experiential Learning in Higher Education. Academy of Management Learning and Education. 4 (2), 193–212.
Kotter, J. P. and Schlesinger, L. A. (1979). Choosing Strategies for Change. Harvard Business Review. 57 (2), 106-114.
Smith, R. M. (1983). Learning How to Learn: Applied Theory for Adults. Milton Keynes: The Open University Press.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.