การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายด้วยการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับการกำกับตนเองในการอ่าน
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, การสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาท, การกำกับตนเองในการอ่าน, ความฉลาดรู้การอ่านบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับการกำกับตนเองในการอ่านเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อประเมินกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับการกำกับตนเองในการอ่านเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ และระยะการประเมินคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับการกำกับตนเองในการอ่านเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะเรียนรู้กลยุทธ์การอ่าน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การแนะนำกลยุทธ์การอ่าน การอธิบายบทบาทในการสนทนาเกี่ยวกับการอ่าน การอธิบายหน้าที่และสาธิตการใช้กลยุทธ์การอ่านตามบทบาท และการสะท้อนการใช้กลยุทธ์การอ่าน และระยะการแลกเปลี่ยนบทบาทและกำกับตนเองในการอ่าน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การกำหนดเป้าหมายและวางแผนการอ่าน การเลือกใช้และกำกับกลยุทธ์การอ่าน การสรุปผลการอ่าน การอภิปรายผลการใช้กลยุทธ์ 2) ผลการประเมินกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้นี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก ( =3.00; S.D.=0.00) โดยสามารถนำไปใช้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายได้ โดยองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยสรุปได้ว่า การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้จะต้องครอบคลุมองค์ประกอบของความฉลาดรู้การอ่าน และกระบวนการจัดการเรียนรู้จะต้องส่งเสริมให้นักเรียนสามารถตั้งเป้าหมายในการอ่าน ใช้กลยุทธ์การอ่านได้เหมาะสม และเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับการอ่าน รวมไปถึงช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีความเพลิดเพลินในการอ่านและเกิดประสบการณ์การอ่านที่หลากหลาย
References
แก้วนภา ทองเทศ และแสน สมนึก. (2566). ผลของการใช้วิธีการสอนแบบซิปปาที่มีผลต่อความฉลาดรู้การอ่านและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 7 (1), 294-309.
ชัญญานุช มะโนปา. (2552). การสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทเพื่อพูนความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและลดความวิตกกังวลในการเรียนของนักเรียนระดับกำลังพัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์ และวิภาวรรณ เอกวรรณัง. (2562). การวิจัยและพัฒนาความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านตามแนวทางการสอบแบบ PISA โดยใช้แนวคิดการอ่านจากต้นแบบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
นันทวัน สมสุข และสุชาดา ปัทมวิภาต. (2565). สะท้อนประเด็นจากผลการประเมิน PISA ด้านการอ่าน. นิตยสาร สสวท. 50 (237), 50-54.
ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. (2566). การเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้เรียนในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรษชล เรืองประเสริฐกุล และอาภัสรา ชินวรรโณ. (2565). การสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาท: กลยุทธ์การสอนเพื่อส่งเสริมความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 18 (1), OJED-18-01-007.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ยุทธนา ปัญญา. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ ศิริมังคลวณิชย์ และคณะ. (2566). รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการกำกับตนเองเพื่อการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 43 (4), 90-100.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ. (2564ก). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการอ่านและแนวทางในการยกระดับความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ. (2564ข). ผลประเมินการอ่านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ PISA 2018. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (6 ธันวาคม 2566). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2022. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2567, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21/
สันติวัฒน์ จันทร์ใด. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Horner, S. L. and Shwery, C. S. (2002). Becoming an Engaged, Self-regulated Reader. Theory into Practice. 41 (2), 102-109.
Oczkus, L. D. (2018). Reciprocal Teaching at Work: Powerful Strategies and Lessons for Improving Reading Comprehension, 3rd ed. ASCD: Alexandria, Virginia.
Palincsar, A. S. and Brown, A. L. (1984). Reciprocal Teaching of Comprehension-fostering and Monitoring Activities. Cognition and Instruction. 1 (2), 117-175.
Pilonieta, P. and Medina, A. (2009). Reciprocal Teaching for the Primary Grades: We Can Do It, Too! The Reading Teacher. 63 (2), 120-129.
Rosenshine, B. and Meister, C. (1994). Reciprocal Teaching: A Review of the Research. Review of Educational Research. 64 (4), 479-530.
Schünemann, N., et al. (2013). Integrating Self-regulation in Whole-class Reciprocal Teaching: A Moderator–mediator Analysis of Incremental Effects on Fifth Graders’ Reading Comprehension. Contemporary Educational Psychology. 38 (4), 289-305.
Shuy, T. (2012). Self-regulated Learning. In Corley, M. A. (ed.). Just Write! Guide. (pp. 29-31). Washington, DC: US Department of Education, Office of Vocational and Adult Education.
Zimmerman, B. (1990). Self-regulated Learning and Academic Achievement: An Overview. Educational Psychologist. 25 (1), 3-17.
Zimmerman, B. J., et al. (2009). Developing Self-regulated Learners: Beyond Achievement to Self-efficacy, 7th ed. Washington, DC: American Psychological Association.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.