แนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ภาวิชชุกานต์ ใช้ลิ้ม หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หนังสือเรียน, วิชาสังคมศึกษา, ความคิดสร้างสรรค์, นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและประเมินแนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลและออกแบบแนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และ 2) การประเมินแนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบคุณภาพแนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สูตรการคำนวณดัชนีความสอดคล้อง

ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียม ขั้นการออกแบบ ขั้นการผลิต และขั้นรวบรวมข้อมูลหลังการใช้งาน โดยมีแนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในขั้นการเตรียมและขั้นการออกแบบ 2) ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.4-0.6 โดยผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะให้ปรับปรุงรายละเอียดบางขั้นตอนในการจัดทำหนังสือเรียนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นก่อนนำไปใช้ในการพัฒนาหนังสือเรียนต่อไป และผลการประเมินแนวทางการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.4-0.8 โดยผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะให้ปรับปรุงรายละเอียดบางตัวอย่างในการตั้งคำถามและการนำเสนอให้เหมาะสมยิ่งขึ้นก่อนนำไปใช้ในการพัฒนาหนังสือเรียน บทความวิจัยนี้ได้องค์ความรู้ด้านกระบวนการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาในขั้นการเตรียมและการออกแบบ โดยคำนึงถึงการตั้งคำถามเพื่อฝึกการสังเกต การตั้งคำถามเพื่อส่งเสริมให้เกิดการคิดตามองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ การตั้งคำถามเพื่อฝึกการอุปมา รวมถึงการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นอย่างอิสระปลอดภัย

References

กุลธิดา กุลคง. (2555). ระบบการออกแบบหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยรรยงค์ ณ บางช้าง และคณะ. (2563). การพัฒนาตัวชี้วัดความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4-6. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 14 (1), 99-116.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (25 พฤศจิกายน 2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2567, จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329

แสงรุ้ง พูลสุวรรณ. (2554). การพัฒนาหลักสูตรบรรณาธิการเพื่อเสริมสร้างความรู้และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alessi, S. M. and Trollip, S. R. (1991). Computer-based Instruction: Methods and Development. New Jersey: Prentice Hall.

Beetlestone, F. (1998). Creative Children, Imaginative Teaching. Suffolk: St. Edmundsbury Press.

Gautschi, P. (2018). Ideas and Concepts for Using Textbooks in the Context of Teaching and Learning in the Social Sciences and Humanities. In Fuchs, E. and Bock, A. (Eds.). The Palgrave Handbook of Textbook Studies. (pp. 127-139). London: Palgrave Macmillan.

Gordon, W. J. J. (1971). Synectics: The Development of Creative Capacity, 4th ed. New York: Macmillan Company.

Guilford, J. P. (n.d.). Characteristics of Creativity. Retrieved August 25, 2024, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED080171.pdf

Hernández-Torrano, D. and Ibrayeva, L. (2020). Creativity and Education: A Bibliometric Mapping of the Research Literature (1975–2019). Thinking Skills and Creativity. 35, 100625. DOI: 10.1016/j.tsc.2019. 100625

Kay, K. and Greenhill, V. (2011). Twenty-First Century Students Need 21st Century Skills. In Wan, G. and Gut, D. M. (Eds.). Bringing Schools into the 21st Century. (pp. 41–65). Dordrecht: Springer.

Rufaida, S., et al. (2022). Application of Synectic Models in the Learning Process: A Systematic Literature Review. 1st World Conference on Social and Humanities Research (W-SHARE 2021), Advances in Social Science, Education and Humanities Research, Vol. 654. Universitas Negeri Makassar and Universitas Negeri Makassar, Indonesia. 7-8 December 2021. pp. 253-258. DOI:10.2991/assehr.k. 220402.054

Schneider, D. K. (10 November 2014). Educational (Instructional) Design Models. Retrieved August 25, 2024, from https://www.scribd.com/document/425340753/E-BOOK-Educational-Instructional-Design-Models-Daniel-K-Schneider

Starko, A. J. (2013). Creativity in the Classroom, 5th ed. New York: Routledge.

Torrance, E. P. (1965). Scientific Views of Creativity and Factors Affecting Its Growth. Daedalus. 94 (3), 663-681.

Torrance, E. P. (1972). Can We Teach Children to Think Creatively? The Journal of Creative Behavior. 6 (2), 114-143.

Ucus, S. (2018). Exploring Creativity in Social Studies Education for Elementary Grades: Teachers’ Opinions and Interpretations. Journal of Education and Learning. 7 (2), 111-125. DOI:10.5539/jel.v7n2p111

Vincent-Lancrin, S., et al. (2019). Fostering Students' Creativity and Critical Thinking: What it Means in School, Educational Research and Innovation. Paris: Better Policies for Better Lives Publishing.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-19

How to Cite

ใช้ลิ้ม ภ., & วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า ว. (2025). แนวทางการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 10(1), 19–36. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/273331