รูปแบบการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การจัดการขยะ, หลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการขยะของชุมชนบ้านวังธาร 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์และแนวคำถามในการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 25 คน ได้แก่ 1) กลุ่มผู้นำชุมชนจำนวน 15 คน 2) กลุ่มภาครัฐ เอกชน พระภิกษุ ผู้ประกอบธุรกิจและเยาวชน จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการขยะของชุมชน เป็นการจัดการขยะที่มีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามบริบทของชุมชน ในอดีตการจัดการขยะของชุมชนมีการจัดการขยะตามวิถีชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันเทศบาลตำบลลวงเหนือได้ส่งเสริมการจัดการขยะในระดับครัวเรือน โดยให้มีการคัดแยกขยะเปียก ขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายที่เป็นมลพิษ 2) การพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ขั้นตอนที่ 1 การประชุมวิเคราะห์ปัญหาการจัดการขยะในชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างจิตสำนึกโดยการเรียนรู้จากชุมชนต้นแบบ ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก กระเป๋าจากซองกาแฟ และกิจกรรมทำสบู่จากกากกาแฟ ขั้นตอนที่ 4 สรุปและประเมินผลจากกิจกรรม ขั้นตอนที่ 5 การขยายผลการจัดกิจกรรม 3) รูปแบบการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ การจัดการขยะโดยกระบวนการเรียนรู้และการสร้างจิตสำนึก การจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดการขยะแบบวิถีชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการขยะตามหลักโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี เกิดจากการสร้างการเรียนรู้และกระบวนการจัดการขยะของชุมชนที่มีความสอดคล้องกับบริบทของชุมชน
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564).กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟพริ้นท์.
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2565. (อัดสำเนา).
คีต องอาจ และคณะ (2566) จากแดงโมเดล: รูปแบบการพัฒนาเมืองขยะเป็นศูนย์ แนวพุทธบูรณาการของวัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี. 6 (5), 391-405.
ทรงศักดิ์ วลัยใจ. (2564). กระบวนการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนมีส่วนร่วมเทศบาลตำบลเวียงพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เทศบาลตำบลลวงเหนือ. (2566). เอกสารเทศบาลตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. (อัดสำเนา).
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุ่นเรือน เล็กน้อย. (2564). การจัดการขยะชุมชนภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 15 (2), 362-373.
นงนุช ศรีสุข และเบญญาดา กระจ่างแจ้ง. (2566). การจัดการขยะฐานศูนย์ของชุมชนภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลปะตง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5 (4), 1011-1026.
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 1. (2567). ผู้ใหญ่บ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 11 กุมภาพันธ์.
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2. (2567). ประชาชนบ้านวังธาร ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 11 กุมภาพันธ์.
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3. (2567). หัวหน้าฝ่ายงานสาธารณสุข เทศบาลตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 21 กุมภาพันธ์.
พระศักดิ์ชัย จิรสีโล (วังแง่). (2564). พัฒนาจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอยของตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัษฎากร วินิจกุล และคณะ. (2567). การบริหารจัดการขยะ (Zero Waste): กรณีศึกษาชุมชนต้นแบบ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 8 (1), 120-132.
ศรีสกุล โกมลโรจน์ และวีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2567). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ไร้แผ่นดิน: กรณีศึกษาหมู่ที่สอง ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์. 7 (2), 231-264.
ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ และคณะ. (2562). การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะครบวงจรด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. โครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
สหัทยา วิเศษ และคณะ. (2565). การพัฒนานวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 7 (1), 80-99.
เอนก ฝ่ายจำปา. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมศรี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2 (1), 1-17.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.