การพัฒนาการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • กฤตสุชิน พลเสน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา, จังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มัคนายก กรรมการวัด ภิกษุ สามเณร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าอาวาส และเจ้าคณะเขตปกครอง จำนวน 264 รูป/คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 30 ข้อ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ประกอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยของพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา ด้านการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวมีค่าสูงสุด รองลงมา คือ ด้านลักษณะแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว ส่วนด้านรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวมีค่าต่ำสุด โดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation=3.73; S.D.=0.18) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับองค์ประกอบที่สำคัญของการท่องเที่ยว 6 ประการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาพบว่า มีตัวแปรการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวที่ทำนายปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (P-value=0.000) ตัวแปรทั้ง 3 อธิบายการผันแปรของปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาได้ร้อยละ 69.6 (R2=0.696) 4) รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาควรคำนึงองค์ประกอบการท่องเที่ยว 6 ประการ คือ 1. ความดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว 2. แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 3. การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว 4. สิ่งอำนวยความสะดวก 5. จุดเด่นด้านความปลอดภัย 6. จุดเด่นในกิจกรรม องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้ผลผลิตและผลลัพธ์ของการพัฒนา 3 ประการ คือ 1) เป็นแหล่งประกอบศาสนกิจ 2) เป็นแหล่งพบปะบัณฑิตผู้ทรงภูมิรู้ทางธรรม 3) เป็นแหล่งแสวงบุญทางพระศาสนา

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม.

นัยเนตร ขาวงาม. (2565). แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระครูธรรมกถาสุนทร (อิทธิกร อนันตกูล). (2560). ศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอรุณ ปัญญารุโณ และเกษฎา ผาทอง. (2565). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ตามรอยเกจิอาจารย์ จังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7 (12), 652-669.

พระศรีสังคม ชยานุวฑฺโฒ (ธนาวงษ์). (2562). การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา: รูปแบบและเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวของวัดในสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2564). ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปสาระสำคัญแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580), พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (5) ประเด็นการท่องเที่ยว (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อารีย์ นัยพินิจ และคณะ. (2556). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5 (1), 31-40.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610. DOI: 10.1177/001316447003000

Likert, R. (1974). The Method of Constructing an Attitude Scale. In Maranell, G. (ed.). Scaling: A Sourcebook for Behavior Scientist. (pp. 233-242). New York: Routledge.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18