การประเมินการปฏิบัติการสอนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
คำสำคัญ:
การปฏิบัติการสอน, นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยาบทคัดย่อ
บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 2) เพื่อศึกษาลักษณะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำแนกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 นิสิตสาขาวิชาการสอนภาษาไทยชั้นปีที่ 5 ที่ฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 9 รูป กลุ่มที่ 2 ครูพี่เลี้ยง จำนวน 9 คน กลุ่มที่ 3 ครู/ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งในการนิเทศประจำโรงเรียน 9 คน และกลุ่มที่ 4 อาจารย์นิเทศก์ มหาวิทยาลัย จำนวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตการณ์จัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามความเห็นของครูพี่เลี้ยง ครู/ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งในการนิเทศประจำโรงเรียน และอาจารย์นิเทศก์มหาวิทยาลัยพบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(=4.50; S.D.=0.52) 2) การศึกษาลักษณะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง ครู/ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งในการนิเทศประจำโรงเรียน และอาจารย์นิเทศก์มหาวิทยาลัยพบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนภาษาไทย โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (=4.25; S.D.=0.69) องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1. การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ควรพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านการวัดและประเมินผล หลักการเขียนสาระสำคัญ การกำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในชีวิตจริงและมีกิจกรรมที่หลากหลาย 2. ลักษณะการจัดกิจกรรมของนิสิตควรพัฒนาองค์ความรู้และทักษะให้สามารถใช้สื่อเชื่อมโยงความรู้เดิมไปสู่ความรู้ใหม่และกระตุนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทบทวนความรู้เดิม และขั้นการนำไปใช้ควรฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้มาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการแก้ไขภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์.
กฤษณา ชินสิญจน์ และคณะ. (2550). ผลของกระบวนการจัดการสังเกตและฝึกปฏิบัติงานครูต่อการนำไปใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45 สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วันที่ 30 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์. หน้า 90-97.
ประเวศ วะสี. (2541). ปฏิรูปการศึกษา ยกเครื่องทางปัญญา ทางรอดจากความหายนะ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี–สฤษดิ์วงศ์.
พิชญาภา ยืนยาว และณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง. (2560). รูปแบบการเรียนการสอนแบบบันเทิงของนักศึกษามหาวิทยาราชภัฏนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (3), 904-920.
สมทรง สุวพานิช. (2556). การศึกษาการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สโรชา คล้ายพันธุ์. (2557). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 8 (1), 63-76.
สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้และการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.
เสาวรส ภูภากรณ์. (2543). สภาพการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาขาการศึกษาปฐมวัยในสถาบันราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อับดุลฮาลิม อาแด อิบบรอเฮง อาลฮูเซน. (2561). ศึกษาผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. รายงานการวิจัย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.