การธำรงชาติพันธุ์ของชาวไทตาดในบริบทความหลากหลายทางชาติพันธุ์
คำสำคัญ:
ชาติพันธุ์, ไทตาด, ความหลากหลายทางชาติพันธุ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมของชาวไทตาด และ 2) เพื่อศึกษาการธำรงชาติพันธุ์ของชาวไทตาดในบริบทความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นกระบวนการรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสังเกต สำรวจและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 45 รูป/คน ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาด้วยทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์และทฤษฎีการธำรงชาติพันธุ์เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยแล้วนำเสนอรายงานผลการวิจัยด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ชาวไทตาดเป็นกลุ่มชนที่มีประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้ายมาจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีความเชื่อเรื่องผีรูปแบบต่าง ๆ คอยทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของคนในกลุ่ม มีวิถีชีวิต ภาษา ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีอย่างเฉพาะตัว ดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยมีป่าชุมชนเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันภายใต้ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ชาวไทตาดยังคงไว้ซึ่งความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทตาด โดยสามารถธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนไว้ได้ เช่น ภาษา ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม องค์ความรู้จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ชาวไทตาดยังคงรักษาอัตลักษณ์ของตนอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการปรับตัวทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวและนำทรัพยากรทางวัฒนธรรมเดิมมาแสดงอัตลักษณ์ของตนในเชิงการท่องเที่ยวเพื่อรักษาความมีตัวตนทางวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่สืบต่อไป โดยไม่ถูกกลืนกลายด้วยวัฒนธรรมกระแสหลักในท้องถิ่นและยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมกระแสหลักได้อย่างกลมกลืนจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นชาติพันธุ์ที่ 9 ของจังหวัดนครพนม และเชื่อว่า จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนมอย่างยั่งยืน
References
จรัส นนทวงษา. (2566). ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านหนองบัว ตำบลนาราชควาย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์. 7 กรกฎาคม.
จันทอน สีคะ. (2566). กว้านจ้ำทิดแดง บ้านผึ้ง ตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์. 15 มีนาคม.
จำเนียร จำปา. (2566). ชาวบ้านทั่วไป บ้านหนองบัว ตำบลนาราชควาย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์. 7 กรกฎาคม.
ทวี อภิสกุลชาติ. (15 พฤษภาคม 2565). “ไทตาด” ชาติพันธุ์ (ใกล้) ถูกลืม มีร่องรอยอพยพจากแคว้นสิบสองปันนาขึ้นฝั่งแม่น้ำโขงนครพนม. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566, จาก https://www.77kaoded.com/news/tawee/2286451
ทอง ทุยนุ้ย. (2566). ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านนาคำกลาง ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์. 20 พฤษภาคม.
ธันวา ใจเที่ยง. (2548). ไทตาดความหลากหลายทางชีว-ชาติพันธุ์ที่ลุ่มน้ำโขงนครพนม. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
บุญยงค์ เกศเทศ. (2551). วัฒนธรรมเผ่าพันธุ์มนุษย์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เผือ ฝ่ายเพีย. (2566). ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านผึ้ง ตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์. 13 ตุลาคม.
พระครูบุญมี ตปสีโล. (2566). เจ้าอาวาสวัดบ้านผึ้ง ตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์. 15 มีนาคม.
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครพนม. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการเรียนรู้ออนไลน์เรื่อง 8 ชนเผ่า 2 เชื้อชาติ ในจังหวัดนครพนม. นครพนม: ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครพนม.
สนม เสนพันธ์. (2566). ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านนาคำกลาง ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์. 16 ธันวาคม.
สมบูรณ์ นาคะอินทร์. (2566). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผึ้ง ตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์. 20 พฤษภาคม.
สยามรัฐออนไลน์. (27 มิถุนายน 2565). อบต. บ้านผึ้งจับมือสภาวัฒนธรรมเปิดตัวชนเผ่าไทตาดเป็นมรดกภูมิปัญญา. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566, จาก https://siamrath.co.th/n/360370
สุภางค์ จันทวานิช. (2546). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมรา พงศาพิชญ์. (2543). วัฒนธรรม ศาสนา ชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Castile, G. P. and Kushner, G. (1981). Persistent Peoples: Cultural Enclaver in Perpective. Tucson Arizona: University of Arizona Press.
Keyes, C. F. (1982). Ethnic Change. Seattle: University of Washington Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.