การสังเคราะห์ความรู้ระบบการจัดการพื้นที่และเครือข่ายสุขภาวะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระมหาเสฏฐวุฒิ วชิรญาโณ (ปาสวน) สถาบันพระไตรปิฎกศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วุฒินันท์ กันทะเตียน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์ความรู้, ระบบการจัดการพื้นที่และเครือข่ายสุขภาวะ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดพื้นที่และเครือข่ายสุขภาวะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา และ 2) เพื่อสังเคราะห์ความรู้ระบบการจัดการพื้นที่และเครือข่ายสุขภาวะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา โดยศึกษาจากเอกสารเกี่ยวกับพื้นที่และเครือข่ายสุขภาวะที่เป็นหลักการสากลและหลักการแนวคิดทางพระพุทธศาสนา เอกสารรายงานวิจัย การสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยใช้ทฤษฎีระบบเป็นกรอบวิเคราะห์

ผลจากการศึกษามีดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้าที่มีพลัง ได้แก่ บุคลากร 3 ฝ่ายที่เรียกว่า บ-ว-ร หรือบ้าน วัด ราชการ และส่งผลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ คือ ทำให้การทำกิจกรรมแบบเครือข่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลลัพธ์เชิงนวัตกรรมและเชิงกลไกขับเคลื่อนงานต่อไป 2) การสังเคราะห์ความรู้จากการวิจัย พบว่า ได้ความรู้หลัก คือ เรื่องการพัฒนาพื้นที่และเครือข่ายที่สุขภาวะทางกาย จิต สังคม และปัญญาที่สัมพันธ์กับหลักสัปปายะในพระพุทธศาสนา และได้ความรู้ย่อย 5 เรื่อง ได้แก่ (1) การใช้ทรัพยากรทางพระพุทธศาสนา (2) การใช้เครือข่ายพลังแบบ บ-ว-ร (3) การใช้ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม (4) มีการเรียนรู้สุขภาวะเชิงบูรณาการ และ (5) ทุกพื้นที่มีความร่วมมือและมีเป้าหมายร่วมกัน มีข้อเสนอแนะให้สนับสนุนด้านงบประมาณ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างคณะสงฆ์ ภาครัฐและชุมชนอย่างต่อเนื่อง

References

กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). คู่มือการพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน. นครปฐม: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระธิติ. (2558). รูปแบบการปฏิบัติที่ดีในการมีส่วนร่วมในการผลิตและการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยมหิดล.

ประกาศเรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (13 ตุลาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1.

ประทีป พืชทองหลาง. (2555). พุทธวิธีการให้คำปรึกษา: พุทธปัญญาเพื่อการแก้ปัญหาชีวิตมนุษย์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 8 (ฉบับพิเศษ), 550-567.

พนัส ต้องการพานิช. (2563). ร้อง เล่น เต้น เคลื่อนไหว: กิจกรรมดนตรีเพื่อผู้สูงอายุ. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ. 2 (1), 91-106.

พนิต ภู่จินดา และคณะ. (2564). Healthy Space Next Door: สุขภาพดีมีได้ข้างบ้าน คู่มือแนะนำการสร้างพื้นที่สุขภาวะในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง.

พระครูเกษมอรรถากร และสุเทพ เชื้อสมุทร. (2564). บทบาทประชาสังคมกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่”. วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วันที่ 28 กุมภาพันธ์. หน้า 691-702.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2566). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาพื้นที่ทางสังคม. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2558). การสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขของประชาชนตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา. นนทบุรี: ดีไซน์ ดีไลท์.

พระมหาอนุชา สิริวณฺโณ (พละกุล). (2556). การศึกษาพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาวัดเทพปูรณาราม ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระสุธีรัตนบัณฑิต และคณะ. (2563). โครงการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ในสังคมไทย. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

พิเศษ โพพิศ. (2563). การสร้างสรรค์กิจกรรมศิลปะเพื่อลดความเครียดในเด็กจากการเรียนออนไลน์. รายงานการวิจัย. สถาบันพัฒนศิลป์.

ภรณี หลาวทอง. (2558). ตัวแบบการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2550). พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ เวอร์ชัน 6: BUDSIR VI for Windows. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยูคิโอะ ฮายาชิ. (2554). พุทธศาสนาในเชิงปฏิบัติของคนไทยอีสาน: ศาสนากับความเป็นภูมิภาค. พินิจ ลาภธนานนท์. (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เริงวิชญ์ นิลโคตร และคณะ. (2564). การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพิ่มเสริมพลังอำนาจสุขภาวะชุมชน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 5 (2), 53-69.

สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์). (2527). สมเด็จฯ คิด-เขียน-พูด-เทศน์. พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณณกมหาเถร). กรุงเทพมหานคร: เจริญรัฐการพิมพ์.

สำราญ ทิพย์บรรพต. (2564). กระบวนการพัฒนาชุมชนเชิงนิเวศตามศาสตร์พระราชา: กรณีศึกษาชุมชนเกาะกก จังหวัดระยอง. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โสรีช์ โพธิแก้ว. (ม.ป.ป.). การปรึกษาเชิงจิตวิทยา/จิตรักษาแนวพุทธ. ใน โครงการพัฒนาระบบการจัดการพื้นที่และเครือข่ายองค์กรสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา. (เอกสารอัดสำเนา).

อ้อมเดือน สดมณี และคณะ. (2551). ความคิดเห็นของคนไทยปัจจุบันเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ไทย. รายงานการวิจัย. โครงการวิจัยพุทธศาสน์ศึกษา ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Mele, C, et al. (2010). A Brief Review of Systems Theories and Their Managerial Applications. Service Science. 2 (1/2), 126-135.

Patton, W. and McMahon, M. (2014). Career Development and Systems Theory: Connecting Theory and Practice, Vol. 2. Rotterdam: Sense Publishers.

World Health Organization (WHO). (2015). Healthy Cities: Good Health is Good Politics.Manila: WHO Western Pacific.

#JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-29