รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช: การทบทวน การศึกษาใหม่ กลวิธีสร้างสรรค์เนื้อเรื่อง และการนำเสนอข้อคิดเห็น

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รามเกียรติ์, พระราชนิพนธ์, พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนการศึกษาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์ 2) นำเสนอผลการศึกษาใหม่ในเรื่องที่มาของรามเกียรติ์ 3) ศึกษากลวิธีสร้างสรรค์เนื้อเรื่อง 4) นำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ผลการศึกษาพบว่า นอกจากรามเกียรติ์จะมีที่มาจากรามายณะภาษาสันสกฤตฉบับองคนิกาย, วิษณุปุราณะ, หนุมานนาฏกะ, รามายณะฉบับทมิฬ, รามายณะฉบับเบงคาลี, พระรามของชวา-มลายู, พระรามที่เล่ากันอยู่ในเอเชียใต้สมัยคุปตะและปาละ รวมถึงลิลิตนารายณ์ 10 ปางแล้ว ยังมีที่มาจากมหิราพณ์ปาลา, มยิลิราวณัน กไต, หิกายัตศรีราม, สิริสารามา, พระรามบนเกาะบาหลี และอัทภุตะรามายณะ การสร้างสรรค์พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์เกิดจากการนำเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เนื้อเรื่องและโครงเรื่องจากวรรณกรรมพื้นบ้าน คติความเชื่อเรื่องพระอินทร์ในชาดก ตลอดจนวรรณคดีคำสอนรุ่นเก่ามาเป็นส่วนหนึ่ง ในการสร้างสรรค์เนื้อเรื่อง ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากการศึกษาในครั้งนี้ คือ พราหมณ์ผู้เล่าเรื่องรามายณะให้คนไทยฟังเป็นพราหมณ์ในลัทธิไศวนิกาย ทั้งนี้ รามเกียรติ์ยังเป็นวรรณคดีที่ใช้สำหรับแสดงละครในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรืออาจใช้แสดงละครในงานสมโภชพระศรีศากยมุนี ผลการศึกษาครั้งนี้พบองค์ความรู้ใหม่ 3 เรื่อง คือ 1) รามเกียรติ์มีที่มาจากนิทานเรื่องพระรามและรามายณะหลายสำนวน 2) เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมพื้นบ้าน ความเชื่อเรื่องพระอินทร์และวรรณกรรมคำสอนรุ่นเก่า มีส่วนในการสร้างสรรค์เนื้อเรื่อง 3) พราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องพระราม
หรือรามายณะสู่คนไทย และรามเกียรติ์ใช้ในการแสดงละครเพื่อฉลองวัดและสมโภชพระพุทธรูป

References

กรมศิลปากร. (2508). ชุมนุมพระราชนิพนธ์และบทประพันธ์. กรุงเทพมหานคร: ป. พิศนาคะการพิมพ์.

กรมศิลปากร. (2540). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมศิลปากร. (2545ก). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.

กรมศิลปากร. (2545ข). เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน, พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: บรรณาคาร.

กรมศิลปากร. (2549). ปัญญาสชาดก เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาการ.

เกษม ขนาบแก้ว. (2539). อิทธิพลวรรณคดีต่างประเทศต่อวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค). (2562). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

นายนรินทรธิเบศร์ (อิน). (ม.ป.ป.). นิราศนรินทร์. กรุงเทพมหานคร: ศรีปัญญา.

นิยะดา เหล่าสุนทร. (2540). คัมภีร์นารายณ์ 20 ปางกับคนไทย. กรุงเทพมหานคร: แม่คำผาง.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2549). นิทานพื้นบ้าน. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 4. กรุงเทพมหานคร: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. (2549ก). บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร.

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. (2549ข). บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร.

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. (2549ค). บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 3, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร.

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. (2549ง). บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 4, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2565). บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร. (2514). เรื่องพระราม. พระนคร: หอสมุดแห่งชาติ.

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2547). มณีปิ่นนิพนธ์ รวมบทความด้านภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2559). อิทธิพลวรรณกรรมต่างประเทศที่มีต่อวรรณกรรมไทย, พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2563). โอกาสใหม่ในวรรณคดีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

ลักษณา โตวิวัฒน์. (2550). นกกระจาบกลอนสวด. ใน นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.

เสฐียรโกเศศ. (2550). อุปกรณ์รามเกียรติ์, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ศยาม.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23