แนวทางการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในเมืองเก่าพะเยาด้วยทุนวัฒนธรรมชุมชน

ผู้แต่ง

  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • นภาพร หงษ์ทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ภัทรา บุรารักษ์ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นิรมล พรมนิล คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปะวินทร์ ระมิงค์วงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

พื้นที่เรียนรู้เชิงสร้างสรรค์, เวียงน้ำเต้า, เมืองเก่าพะเยา, ทุนวัฒนธรรมชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และการพัฒนาในเมืองเก่า 2) ศึกษาทุนทางวัฒนธรรมชุมชนในเมืองเก่า และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในเมืองเก่าด้วยทุนวัฒนธรรมชุมชน ในพื้นที่เมืองเก่าเวียงน้ำเต้า ชุมชนวัดลีและชุมชนวัดศรีจอมเรือง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร สำรวจพื้นที่ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำกลุ่ม จำนวน 20 คน และสนทนากลุ่มตัวแทนองค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนักวิชาการ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบท พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และการพัฒนาในพื้นที่เมืองเก่าเวียงน้ำเต้า มีความเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์เมืองพะเยายุคตำนาน และยุคประวัติศาสตร์ มีการสร้างเวียงใหม่คู่กับเวียงน้ำเต้า จนกระทั่งตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าและยุคฟื้นฟูที่เป็นส่วนหนึ่งของสยาม ส่วนการพัฒนาในพื้นที่เมืองเก่าเวียงน้ำเต้าได้มีการจัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าพะเยา 2) ทุนวัฒนธรรมชุมชนพบว่า ทุนวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนในชุมชนและประเพณีทางพุทธศาสนา รวมทั้งความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษของชุมชน ส่วนทุนวัฒนธรรมที่จับต้องได้ ได้แก่ แนวคันดินที่เป็นกำแพงเมือง-คูเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ พระพุทธรูป จารึกหินทรายสกุลช่างพะเยา 3) แนวทางการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในเมืองเก่าพะเยาด้วยทุนวัฒนธรรมชุมชนที่จับต้องไม่ได้และที่จับต้องได้มี 3 แนวทาง ได้แก่ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทุนวัฒนธรรมชุมชน การพัฒนาให้เกิดฐานเรียนรู้ภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และการสร้างเครือข่ายการพัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อผลักดันนโยบายสาธารณะ องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า การพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ในพื้นที่เมืองเก่าเวียงน้ำเต้าด้วยทุนวัฒนธรรมชุมชน คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนและพหุภาคี และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่า

References

เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. (2554). วัดโบราณในเมืองพะเยา. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. (2560). รากเหง้าของเรา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองพะเยา. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

เกื้อพงษ์ ชัยดรุณ. (2567). นักวิชาการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. สัมภาษณ์. 13 กุมภาพันธ์.

ข่าวพะเยา. (21 พฤศจิกายน 2564). วัดน้อยโบราณศักดิ์สิทธิ์อายุกว่า 500 ปี เล็กที่สุดในพะเยา. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2566, จาก https://www.khawphayao.com/archives/34318

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดพะเยา. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

จเร สุวรรณชาต และคณะ. (2564). การกำหนดกรอบวิจัยในการพัฒนาศักยภาพของมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์. รายงานการวิจัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

จันคำ ศีติสาร. (2566). ชาวบ้านชุมชนวัดลี อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 22 สิงหาคม.

ชาญคณิต อาวรณ์. (2567). อาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. สัมภาษณ์. 13 กุมภาพันธ์.

เชียงใหม่นิวส์. (19 มกราคม 2563). ชมความงามเจดีย์ชเวดากองจำลองวัดศรีจอมเรือง จังหวัดพะเยา. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2566, จาก https://www. chiangmainews.co.th/social/1236789/

ฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดพะเยา ศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา. (ม.ป.ป.). วัดศรีจอมเรือง. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566, จาก http://www.clm.up.ac.th/project/local_database/read.php?record=142

นันทนิษฎ์ สมคิด และพระสุธีรัตนบัณฑิต. (2562). แนวทางการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 6, (ฉบับพิเศษ), 318-319.

บุญศิริ สุขพร้อมสรรพ์ และศรีสุดา วงษ์ชุ่ม. (2561). การอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนเมืองเก่าพะเยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38 (3), 105-126.

ผู้จัดการออนไลน์. (30 ตุลาคม 2554). เร่งอนุรักษ์ 27 เมืองเก่าพะเยาชี้ “เวียงประตูชัย”ถูกออกโฉนดทับเพียบ. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9540000138272

พระธรรมวิมลโมลี และเกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ. (2550). พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

พระวิมลญาณมุนี (บุญชื่น ฐิตธมฺโม). (2566). เจ้าอาวาสวัดลี และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 21 สิงหาคม.

วรเชษฐ์ เรืองเดช. (2567). รองปลัดเทศบาลตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 13 กุมภาพันธ์.

วรินทร์ รวมสำราญและปัณณพงศ์ กุลพัฒน์เศรษฐ. (2564). คุณค่าและศักยภาพในภูมิทัศน์วัฒนธรรม: กรณีศึกษาโบราณสถานวัดป่าแดงดอนไชยบุญนาค. การประชุมวิชาการ 12th Built Environment Research Associates Conference, BERAC 2021. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วันที่ 28 มิถุนายน. หน้า 426-436.

วิยะดา ทองมิตร. (2565). พะเยา: ขุนเขาและธารน้ำใหญ่. วารสารเมืองโบราณ. 48 (3), 12-28.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2563). พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). รายงานสรุปฉบับผู้บริหาร แผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าพะเยา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ ตันติเศรณี และคณะ. (2559). ศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสงขลา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 9 (2), 361-399.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และบริหารจัดการเมืองเก่า. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). โครงการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า: เมืองเก่าพะเยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (ม.ป.ป.). โครงการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า: เมืองเก่าพะเยา. (อัดสำเนา).

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (บรรณาธิการ). (2538). ประชุมจารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

สุธี เมฆบุญส่งลาภ. (2560). การรื้อฟื้นองค์ประกอบของเวียงโบราณของเมืองพะเยาในความนึกคิดของประชาชนเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาเวียงพะเยา เวียงน้ำเต้า และเวียงพระธาตุจอมทอง. รายงานการวิจัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.

Throsby, C. D . (2001). Economics and Culture. Cambridge: Cambridge University Press.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-03