การสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยา เพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้และการคิดเชื่อมโยงเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ธรณิช เมืองมูล หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
  • พิชญ์สินี ชมภูคำ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชันเสมือนจริง, ผลการเรียนรู้, การคิดเชื่อมโยงเชิงวิทยาศาสตร์, แผนผังกราฟิก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชื่อมโยงเชิงวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน จำนวน 1 ห้องเรียน 40 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม เป็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาฯ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของแอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาฯ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5) แบบทดสอบการคิดเชื่อมโยงเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้แผนผังกราฟิก 6) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ฐานนิยม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การแปรผัน การทดสอบทีและการทดสอบแซต

ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาฯ ประกอบด้วยข้อความ ภาพ 2 มิติและกราฟิก 3 มิติ ผสมผสานกับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ประสิทธิภาพเชิงเหตุผลอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ E1/E2 คือ 77.7/75.3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) หลังเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาฯ การทดสอบทีด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชันเสมือนจริงชีววิทยาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การทดสอบแซดด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชื่อมโยงเชิงวิทยาศาสตร์ นักเรียนมากกว่าร้อยละ 60 ของทั้งหมดอยู่ในระดับดีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนพบว่า หลังเรียน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรจัดการเรียนร่วมกับสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและส่งผลถึงผลการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

References

ดุสิต ขาวเหลือง และอภิชาติ อนุกูลเวช. (2561). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม Augmented Reality (AR) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นริศรา ชยธวัช. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มูนีเร๊าะ ผดุง และคณะ. (2563). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2558). นวัตกรรมการเรียนการสอนกับการศึกษาระบบ 4.0. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 9 (2), 133-156.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิษณุโลก: บั๊วกราฟฟิค.

รัตนะ บัวสนธ์. (2563). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมศัพท์สถิติศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา, พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

ศักดินนท์ พุ่มพฤกษ์. (2559). การพัฒนาหนังสือความจริงเสริม วิชาการกระจายเสียงและแพร่ภาพ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สกุลรัตน์ เจริญอินทร์พรหม. (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กลวิธี SQP2RS ร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (3 ธันวาคม 2562). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2552). สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษ 80 พรรษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E Model: A Proposed 7E Model Emphasizes “Transfer of Learning” and the Importance of Eliciting Prior Understanding. The Science Teacher. 70 (6), 56-59.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-17