การจ้างงานผู้สูงอายุผ่านมุมมองความเป็นธรรมทางสังคม
คำสำคัญ:
การจ้างงาน, ผู้สูงอายุ, ความเป็นธรรมทางสังคมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการจ้างงานผู้สูงอายุผ่านมุมมองความเป็นธรรมทางสังคมจากสามนักคิด ประกอบด้วยมุมมองความสามารถของอมาตยา เซน แนวคิดเสรีนิยมของเฟรดริค เอ ฮาเย็ค และแนวคิดเสรีนิยมของโรเบิร์ต โนซิค ทั้งนี้ เพื่อต้องการวิเคราะห์ให้เห็นประเด็น ดังนี้ 1) การทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้สูงอายุในยุคปัจจุบัน 2) ความเป็นธรรมในมุมมองแนวคิดความสามารถของอมาตยา เซน ซึ่งมุ่งเน้นความสามารถของมนุษย์ที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้ตามปรารถนาและใช้โอกาสที่ตนเองมีอยู่ 3) ความเป็นธรรมทางสังคมในมุมมองแนวคิดเสรีนิยมของเฟรดริค เอ ฮาเย็ค ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินนโยบายหรือการออกกฎหมายต้องเป็นไปเพื่อเพิ่มโอกาสให้เกิดความเสมอภาคแก่ทุกคน และ 4) ความเป็นธรรมทางสังคมในทัศนะของโรเบิร์ต โนซิค ซึ่งให้ความสำคัญกับความเหมาะสมเพื่อให้ทุกคนได้รับสิทธิและโอกาสอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะเมื่อเกิดการจ้างงาน เป้าหมายสำคัญ คือ ผลสำเร็จของงาน การนำเสนอบทความเรื่องนี้ทำให้เห็นองค์ความรู้ที่สำคัญ คือ 1) โอกาสเป็นประเด็นสำคัญที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคมในการจ้างงานผู้สูงอายุ 2) ศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อได้รับโอกาสให้เกิดการจ้างงานทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 3) การทบทวนกฎหมายไม่ให้กีดกันผู้สูงอายุเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างเสรีจะทำให้เกิดความเท่าเทียมและความเสมอภาค และ 4) การเปิดมุมมองใหม่ต่อผู้สูงอายุในยุคปัจจุบันที่ยังมีประโยชน์และสามารถทำงานได้
References
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). โครงการวิจัยระบบการดูแลระยะยาวเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงเพื่อวัยสูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: ศักดิโสภาการพิมพ์.
กุศล สุนทรธาดา และคณะ. (2553). โครงการศึกษาเพื่อหารูปแบบการส่งเสริมการมีงานทำแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
กุศล สุนทรธาดา และสุริยาพร จันทร์เจริญ. (2557). โครงการวิจัยจัดทำแนวทางการดำเนินการและกลไกระดับชาติในการขับเคลื่อนนโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เฉลิมพล แจ่มจันทร์. (2563). สถานการณ์และแนวโน้มสภาพการทำงานของผู้สูงอายุไทยการวิเคราะห์จากข้อมูลการสำรวจระดับประเทศ. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). สภาพปัญหาและรูปแบบการจ้างแรงงานสูงอายุของสถานประกอบการเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 4 (1), 50-66.
พงษ์เทพ สันติกุล. (2563). ความยุติธรรมในสวัสดิการสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรรัตน์ แสดงหาญ. (2558). การพัฒนาโมเดลการจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย: การวิจัยแบบผสม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560. (2 มีนาคม 2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 26 ก. หน้า 56-58.
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560. (31 สิงหาคม 2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 88 ก. หน้า 7-10.
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494. (11 เมษายน 2494). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 68 ตอนที่ 24 ฉบับพิเศษ. หน้า 1-34.
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (31 ธันวาคม 2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 130 ก. หน้า 1-8.
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551. (25 มกราคม 2551). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 22 ก. หน้า 1-51.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์คอร์เปอเรชั่น.
ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์ และคณะ. (2553). การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2550: การทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2545-2550. กรุงเทพมหานคร: คิวพี.
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2555). พฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย การปันผลทางประชากร และโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในสังคมสูงวัย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 4 (7), 201-214.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2551). การขยายกำหนดเกษียณอายุและการออมสำหรับวัยเกษียณอายุ โครงการสร้างและขยายโอกาสในการเข้าถึงหลักประกันทางสังคมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สมรักษ์ รักษาทรัพย์ และคณะ. (2551). โครงการนำร่องศึกษาความเหมาะสมในการทำงานของแรงงานหลังเกษียณอายุ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). การศึกษาวิจัยแนวทางและมาตรการส่งเสริมการมีงานทำในผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). การคาดประมาณการประชากรของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2557). ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านแรงงานสูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2556 และแผนปฏิบัติการด้านแรงงานผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงแรงงาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). เอกสารวิชาการ Academic Focus เรื่องสังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ. (2556). การส่งเสริมโอกาสด้านอาชีพและการทำงานของผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.