พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติจังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • คเชนทร์ วัฒนะโกศล คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วันทกาญจน์ สีมาโรฤทธิ์ การ์ด คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการท่องเที่ยว, ความต้องการของนักท่องเที่ยว, แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ, จังหวัดบึงกาฬ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จังหวัดบึงกาฬ และเพื่อศึกษาความต้องการด้านส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จังหวัดบึงกาฬ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกแบบบังเอิญจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดบึงกาฬ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบทีและการทดสอบเอฟ

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ นิยมเดินทางท่องเที่ยวร่วมกับเพื่อนสนิท และส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวครั้งแรกด้วยรถยนต์ส่วนตัว โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางน้อยกว่า 5,000 บาท/ครั้ง สถานที่เลือกชมเที่ยวเป็นอันดับแรก คือ สถานที่มีชื่อเสียงของจังหวัดด้วยการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต โดยได้พักค้างแรมที่รีสอร์ทใกล้เคียงเพื่อพักผ่อนหย่อนใจและชื่นชมธรรมชาติ สถานที่ชื่นชอบมากที่สุด คือ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าสงวนแห่งชาติภูสิงห์ สำหรับความต้องการของนักท่องเที่ยวพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation=3.96; S.D.=0.49) ด้านที่มีความต้องการมากที่สุด คือ ด้านบุคลากรการท่องเที่ยว (equation=4.16; S.D.=0.54) และน้อยที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว (equation=3.44; S.D.=0.90) ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีพฤติกรรมและความต้องการต่อการจัดการการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดบึงกาฬแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักท่องเที่ยวที่มีเพศแตกต่างกัน พฤติกรรมและความต้องการต่อการจัดการการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดบึงกาฬไม่แตกต่างกัน องค์ความรู้จากการวิจัย คือ พฤติกรรมและความต้องการด้านส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวทั้งหมด 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านราคา 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 4) ด้านส่งเสริมการขาย 5) ด้านบุคลากร 6) ด้านลักษณะทางกายภาพ 7) ด้านกระบวนการบริการ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติจังหวัดบึงกาฬ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (ม.ป.ป.). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2561 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด). สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.mots.go.th/news/category/531

กอบกาญจน์ เหรียญทอง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

จริยา นันทิยาภูษิต และภมร ขันธหัตถ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดจันทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7 (4), 378-395.

จินตนา สุริยะศรี. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 3 (3), 67-83.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2555). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

นฤมล รัตนไพจิตร และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

วรสุวิชช์ โพธิสัตย์. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวบึงกาฬเพื่อพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษากลุ่มวัยทำงานและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 13 (1), 8-20.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เที่ยวเมืองไทย ใครใครก็อยากมา. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2563, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/article/article_travel.html

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อารีวรรณ บัวเผื่อน. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนในการมาท่องเที่ยวประเทศไทย: กรณีศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing, 5th ed. New York: Harper & Row.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS #มจร. พะเยา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13