การพัฒนาทักษะการสอนของครูปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาด้วยเครื่องมือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง ในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • นิธินาถ อุดมสันต์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ศักดิ์ศรี สืบสิงห์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุภิมล บุญพอก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ฟ้าสวย ตรีโอษฐ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • วิชิต ถิระเดโชชัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้ , การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้, การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลพัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูปฐมวัย 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูปฐมวัยในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ดและยโสธรที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูปฐมวัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 100 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูปฐมวัยด้วยเครื่องมือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (equation=2.73; S.D.=0.49) ส่วนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation=4.66; S.D.=0.44) 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูปฐมวัยด้วยเครื่องมือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมองพบว่า ภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยคะแนนเฉลี่ยภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) ความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation=4.64; S.D.=0.43) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า หัวข้อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน่าสนใจ มีค่ามากที่สุด รองลงมา คือ การกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้คู่มือแนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะทางสมอง

References

กมลรัตน์ คนองเดช และคณะ. (2563). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อและของเล่นที่มีต่อทักษะ EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู เขตพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้. รายงานการวิจัย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขวัญฟ้า รังสิยานนท์ และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะสมอง-EF สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในโรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. รายงานการวิจัย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

คันธรส ภาผล. (2563). ผลการจัดกิจกรรมนิทานหุ่นเงาที่ส่งผลต่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารสมอง สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์สาร. 14 (1), 100-113.

จิระพร ชะโน. (2562). การคิดเชิงบริหารกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13 (1), 7-17.

นันทา โพธิ์คำ. (2563). ทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 9 (2), 707-721.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประกาศเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). (30 ธันวาคม 2559) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก. หน้า 1.

พัชรนันท์ เกียรติบัณฑิต. (2563). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กปฐมวัยในเขตตรวจราชการที่ 17. เพชรบูรณ์: สำนักงานศึกษาธิการภาค 17.

วิภารัตน์ อิ่มรัมย์ และคณะ. (2563). ผลการพัฒนาครูปฐมวัยด้านการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะ EF ของเด็กปฐมวัย. รายงานการวิจัย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สินีนาฎ แสงแพง และปัทมาวดี เล่ห์มงคล. (2563). ผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบบทบาทสมมติเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในเด็กปฐมวัย. วารสารจันทรเกษมสาร. 26 (1), 117-130.

สุนิษา ภารตระศรี และชวนพิศ รักษาพวก. (2565). ผลการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 16 (2), 353-368.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23