การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วราดวง สมณาศักดิ์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • จุมพล หนิมพานิช คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ภัทรีพันธุ์ พันธุ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การจัดการความรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ (3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 32 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแนวทางการสนทนากลุ่ม จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนกลุ่มตัวอย่างมี 300 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามร่วมกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

ผลการวิจัยพบว่า (1) ในอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงรายมีปัญหาในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ โดยหน่วยงานภาครัฐไม่ให้ความสำคัญและขาดการจัดเก็บและเผยแพร่ความรู้ภูมิปัญญาที่เป็นระบบ ทำให้การถ่ายทอด และการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่มีจำนวนน้อยลง (2) องค์ประกอบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ ประกอบด้วยการสำรวจความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และ (3) รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ ประกอบด้วยบริบทภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอเวียงชัย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์ และประโยชน์ที่จะได้รับ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้สูงอายุต้องปรับปรุง โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีและการจัดเก็บความรู้ท้องถิ่นให้ทันสมัยเพื่อสืบสานและพัฒนาความรู้ในชุมชน รวมถึงการสนับสนุนผู้สูงอายุในการแบ่งปันความรู้แก่คนรุ่นใหม่

References

จันติมา จันทร์เอียด. (2564). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 38 (2), 139-167.

จินต์ประวีร์ เจริญฉิม และสิริชัย ดีเลิศ. (2563). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 33 (2), 152-167.

จิรายุ สุวรรณศรี. (2565). ศึกษาความต้องการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 19 (2), 15-29.

โชติกา สิงหาเทพ และคณะ. (2561). บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. รายงานการวิจัย. สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

ณัฏฐชัย จันทร์ทิพย์ และคณะ. (2565). การส่งเสริมเทคโนโลยีคอลเซ็นเตอร์ (Call Center) การดูแลสุขภาพและการจัดการชีวิตของผู้สูงอายุยุค 5G. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 5 (1), 65-80.

ณัฏฐวัฒน์ แซงภูเขียว. (2563). แนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของสังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาโรงเรียนสร้างสุข-ผู้สูงวัย ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10 (2), 55-67.

ณัฐพล ยศพล และอรวรรณ เสี่ยงบุญ. (2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุต่อการเข้าถึงบริการทางทันตกรรม โรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2 (2), 32-45.

ปิยะนุช เรืองโพน. (2564). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลนครสกลนคร. วารสารชุมชนวิจัย. 15 (4), 42-56.

พระธวัชชัย อานนฺโท และคณะ. (2565). การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชนของตำบลแม่ปืม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารวิจยวิชาการ. 5 (3), 35-48.

ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2566). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน กรมการปกครอง.

ระพีพรรณ จันทรสา. (2565). การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกโดยใช้นวัตกรรม กรณีศึกษาตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7 (1), 843-854.

ลักษณา เกยุราพันธ์. (2561). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น กรณีศึกษา: อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 13 (2), 75-85.

สถิติงานทะเบียนราษฎร์. (2564). ข้อมูลจำนวนประชากรผู้สูงอายุอำเภอเวียงชัย พ.ศ. 2564. เชียงราย: สถิติงานทะเบียนราษฎร์.

สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย. (2564). รายงานสถิติประชากรผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2564. เชียงราย: สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). รายงานสถิติจำนวนประชากรผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุรดา แก้วศรีหา และเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนบนฐานของทุนวัฒนธรรมเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารมณีเชษฐาราม. 5 (2), 237-251.

อุทิศ บำรุงชีพ และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบศูนย์วิจัยนวัตกรรมและฝึกอบรมเพื่อสืบสานภูมิปัญญาผู้สูงอายุสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 4 (2), 189-204.

Hair, et al. (2010). Multivariate Data Analysis, 7th ed. New York: Pearson.

#วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-10