รูปแบบการเสริมพลังสุขภาวะของผู้สูงวัยชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยวัฒนธรรมก๋านก๋ำศีลนอนจอง

ผู้แต่ง

  • หนุ่มเครือ ปิหย่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

สุขภาวะ, รูปแบบการเสริมพลังสุขภาวะ, ผู้สูงวัยชาวไทใหญ่, ก๋านก๋ำศีลนอนจอง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาวะของผู้สูงวัยชาวไทใหญ่ ศึกษากิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัยชาวไทใหญ่กับวัฒนธรรมก๋านก๋ำศีลนอนจอง และนำเสนอรูปแบบการเสริมพลังสุขภาวะของผู้สูงวัยชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่กับวัฒนธรรมก๋านก๋ำศีลนอนจอง เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 28 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาสุขภาวะของผู้สูงวัยที่เสื่อมลงตามธรรมชาติทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สภาพแวดล้อมและสติปัญญา มีโรคที่เกิดขึ้น คือ สายตาพร่ามัว ปวดเมื่อย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น 2) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงวัยชาวไทใหญ่กับวัฒนธรรมก๋านก๋ำศีลนอนจอง ดำเนินตามหลักภาวนา 4 ประกอบด้วยกิจกรรมการดูแลตนเองด้านกายภาพ เช่น การเดินจงกรม กิจกรรมการดูแลตนเองด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น เช่น การรักษาศีล กิจกรรมการดูแลสภาวะจิตใจตนเอง เช่น การทำสมาธิ และกิจกรรมการคิดพิจารณาทุกสิ่งอย่าง เช่น การฟังธรรม และ 3) รูปแบบการเสริมพลังสุขภาวะของผู้สูงวัยชาวไทใหญ่ที่เข้ามาปฏิบัติธรรมในวัฒนธรรมก๋านก๋ำศีลนอนจอง ผู้สูงวัยมีความสามารถใช้ปัญญา มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ได้แก่ 1) การเสริมพลังในการคิดวิเคราะห์ 2) การเสริมพลังในการแก้ไขปัญหา 3) การเสริมพลังในการตัดสินใจ และ 4) การเสริมพลังในการควบคุมตนเอง องค์ความรู้จากการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมให้การเสริมพลังสุขภาวะของผู้สูงวัยชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่มีความสำเร็จ ได้แก่ การที่ผู้สูงวัยมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีการถือศีล ปฏิบัติธรรม สวดมนต์เช้าเย็นที่บ้านทุกวัน เข้าวัดฟังธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นประจำ รวมถึงเข้าร่วมวัฒนธรรมก๋านก๋ำศีลนอนจอง ทำให้ผู้สูงวัยมีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมจึงมีการดูแลสุขภาพให้พร้อมอยู่เสมอ

References

คำ. (2565). ผู้สูงวัยบ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 10 ตุลาคม.

จ๋ามหอม. (2565). ครอบครัวผู้สูงวัยบ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 12 ตุลาคม.

จาย. (2565). ผู้สูงวัยบ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 10 ตุลาคม.

เจ้ายอดศึก. (2565). ผู้สูงวัยบ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 10 ตุลาคม.

ดวงเดือน รัตนะมงคลกุล และคณะ. (2558). ภาพสุขภาวะของผู้สูงอายุผ่านมุมมองพฤฒพลังในชุมชน จังหวัดนครนายก. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 22 (2), 48-60.

ปณิธิ อมาตยกุล. (2547). การย้ายถิ่นของชาวไทยใหญ่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระปริยัติกิจวิธาน และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุองค์รวมเชิงพุทธบูรณาการในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 6 (2), 1-15.

พระภูชิสสะ ปญฺญาปโชโต. (2562). การเสริมสร้างสุขภาวะตามหลักภาวนา 4 ของผู้สูงอายุในตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 4 (1), 49-63.

พระมหาวิโรจน์ วิสุทฺโธ. (2565). เจ้าอาวาสวัดอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 8 พฤศจิกายน.

พระศรีวินยาภรณ์ และมงคล สารินทร์. (2564). การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักภาวนา 4 ในกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 7 (1), 66-77.

ไพบูรณ์ วินุสัย. (2565). ผู้สูงวัยบ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 8 พฤศจิกายน.

เรื่องเล่าชาวล้านนา. (20 มีนาคม 2564). ไทใหญ่หรือฉานหรือเงี้ยว (ซึ่งเป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพ) คือกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2565, จาก https://web.facebook.com/1880368592287798/posts/2976453336012646/

วารินทร์. (2565). ครอบครัวผู้สูงวัยบ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 12 ตุลาคม.

สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2544). ประวัติศาสตร์ไทใหญ่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายสุดา โภชนากรณ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยเสพติดและครอบครัวเพื่อป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุขศิริ ประสมสุข และคณะ. (2563). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตตำบลไร่สะท้อน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 10 (3), 4-15.

สุณี เขื่อนแก้ว และคณะ. (2556). ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตชาวไทใหญ่กับความหลากหลายทางชีวภาพสู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 41 (2), 298-308.

แสง. (2565). ผู้สูงวัยบ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 10 ตุลาคม.

หนั่นต๊ะ. (2565). ผู้สูงวัยบ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 10 ตุลาคม.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-25