การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนลุ่มน้ำปาย ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
การพัฒนาพื้นที่, พื้นที่สร้างสรรค์, ชุมชนลุ่มน้ำปายบทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ลุ่มน้ำปาย และนำเสนอรูปแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์พื้นที่ลุ่มน้ำปาย พื้นที่ศึกษา ได้แก่ บ้านตาลเจ็ดต้น ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 28 คน ประกอบด้วยกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวและกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์และสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ลุ่มน้ำปาย อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ที่มีคนตั้งถิ่นฐานมาก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคประวัติศาสตร์บริเวณที่ตั้งเมืองปายเป็นเมืองสำคัญของล้านนา สภาพพื้นที่มีป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ แม่น้ำปายเป็นแม่น้ำสายหลัก ผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐาน จึงมีความหลากหลายของทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ชุมชนลุ่มน้ำปาย บ้านตาลเจ็ดต้น ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลบริบทชุมชน ขั้นตอนที่ 2 คัดเลือกกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 3 ปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 4 ต่อยอดและขยายผลการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ และ 2) รูปแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์พื้นที่ลุ่มน้ำปาย ได้แก่ (1) การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น (2) การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ด้วยการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ (3) การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ด้วยเศรษฐกิจท้องถิ่น องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ชุมชนลุ่มน้ำปายเกิดจากการที่คนในชุมชนมีความรู้ความสามารถในการผสมผสานทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและศักยภาพของผู้นำชุมชนที่มาพัฒนาเป็นกิจกรรมด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน
References
กรกานต์ บุญมาดำ. (2566). เยาวชนบ้านตาลเจ็ดต้น ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สัมภาษณ์. 20 เมษายน.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี 2565. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน.
คณะกรรมการหมู่บ้านตาลเจ็ดต้น. (2561). เอกสารข้อมูลประกอบการบรรยายสรุปข้อมูลการประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชนประจำปี 2561. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปาย.
จันทร์คำ จันทร์ตา. (2566). ปราชญ์ชาวบ้านผู้ประกอบพิธีกรรม ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สัมภาษณ์. 30 เมษายน.
นันทนิษฎ์ สมคิด และพระสุธีรัตนบัณฑิต. (2562). แนวทางการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 6 (ฉบับพิเศษ), 318-333.
นิรันดร์ ชัยกุล. (2566). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สัมภาษณ์. 30 เมษายน.
ผุสดี ช้ามะเริง. (2566). ครูอาสา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สัมภาษณ์. 24 กุมภาพันธ์.
พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ และคณะ. (2564). การพัฒนาศักยภาพและโอกาสของคนรุ่นใหม่ในการออกแบบอนาคตชุมชนเชิงสร้างสรรค์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10 (1), 1-13.
พระวีระเทพ วีรวํโส. (2561). ชุมชนสร้างสรรค์: องค์ประกอบและกระบวนการเสริมสร้างความยั่งยืน อําเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลภัสรดา สหัสสพาศน์ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2561). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการพื้นที่สร้างสรรค์จังหวัดเพชรบุรี ตามบริบทสังคมประเทศไทย 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (2), 1056-1072.
วิทยา ทองดี และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สุขภาวะ ศิลปะ และการออกแบบเมืองขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 8 (3), 259-276.
ศิวาพร มหาทำนุโชค และนิพนธ์ คำพา. (2564). แม่ฮ่องสอนเมืองชายแดนภาคเหนือด้านตะวันตก: ความท้าทายต่อการพัฒนาเป็นพื้นที่พิเศษส่วนกิจการชายแดนและผู้อพยพ. พิฆเนศวร์สาร. 17 (2), 29-42.
สำเริง ตังกุลา. (2566). กำนันตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สัมภาษณ์. 8 เมษายน.
หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (2), 474-488.
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2558). โครงการบวชป่า สืบชะตาน้ำตำบลเวียงเหนือ ประจำปี พ.ศ. 2558. (อัดสำเนา).
อนงค์ อุ่นนะคำ. (2566). ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สัมภาษณ์. 29 เมษายน.
Open Development Thailand. (9 กรกฎาคม 2561). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565, จาก https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/sustainable-development-goals/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.