อิทธิพลของวัฒนธรรมสมัยนิยมเกาหลีในกลุ่มเยาวชนไทยในจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • อังศุมาลินทร์ คชพงษ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มนตรี กรรพุมมาลย์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

อิทธิพลของวัฒนธรรม, วัฒนธรรมสมัยนิยมเกาหลี, กลุ่มเยาวชนไทย, จังหวัดนครสวรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของวัฒนธรรมสมัยนิยมเกาหลีในประเทศไทย และเพื่อศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมสมัยนิยมเกาหลีในกลุ่มเยาวชนไทยในจังหวัดนครสวรรค์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและการศึกษาภาคสนาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยรูปแบบการเขียนเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า 1. พัฒนาการของวัฒนธรรมสมัยนิยมเกาหลีในประเทศไทยมี 3 ยุค ยุคแรกมาจากกระแสความนิยมของซีรีส์เกาหลี โดยมีเรื่องรักนี้ชั่วนิรันดร์เป็นจุดเริ่มต้นของกระแสความนิยมที่ทำให้สถานีโทรทัศน์นำซีรีส์เกาหลีเข้ามาฉายในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ภาพยนตร์เกาหลีเป็นยุคที่ 2 ที่ได้รับความนิยม โดยภาพยนตร์ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ เรื่องชิริ เด็ดหัวใจยอดจารชน ทำให้ภาพยนตร์หลายเรื่องส่งมาตีตลาดในประเทศไทย ยุคที่ 3 เพลงเคป็อป ความนิยมของเพลงเกาหลีในประเทศไทยเริ่มจากวงชินฮวา และตามด้วยการเข้ามาของวงบอยแบนด์และวงเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีจนถึงปัจจุบัน และ 2. การเข้ามาของกระแสวัฒนธรรมสมัยนิยมเกาหลีในจังหวัดนครสวรรค์ทำให้เกิดกลุ่มแฟนคลับ 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มแฟนคลับซีรีส์เกาหลี (2) กลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลี และมีการแสดงออกถึงความชื่นชอบโดยการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมและการแสดงออกผ่านสื่อออนไลน์ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การเข้ามาของกระแสวัฒนธรรมสมัยนิยมเกาหลีในสังคมไทยมีปัจจัยของความเจริญก้าวหน้าของโลกาภิวัตน์และสื่อกับการรับวัฒนธรรมตะวันออกก่อนหน้านี้เป็นฐานรองรับ อีกทั้งกระแสเกาหลีอยู่ในสังคมไทยมาหลายปีทำให้กลุ่มเยาวชนไทยในจังหวัดนครสวรรค์รู้สึกว่า วัฒนธรรมเกาหลีเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

References

กฤษฎาพร อินต๊ะขัน. (2555). ผลกระทบของนักร้องเกาหลีต่อนักเรียนวัยรุ่น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

กิตติธัช ออไอศูรย์. (18 พฤศจิกายน 2561). ย้อนรอยซีรีส์เกาหลีในประเทศไทย–จากจอแก้วสู่ TV Application. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566, จาก https://www.songsue.co/488/

จงจินต์ จิตร์แจ้ง. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภคบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพดูแลความงาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชญานุตม์ พัฒนสุวรรณ. (2549). การรับวัฒนธรรมสมัยนิยมจากญี่ปุ่นของวัยรุ่นไทย กรณีศึกษาแฟนเพลงเจ-ป๊อป. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เชษฐา พวงหัตถ์. (2559). โลกศึกษา โลกาภิวัตน์ และความเป็นพลเมือง. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์. 22 (1), 1-60.

ณวรา พิไชยแพทย์. (2553). การปรับกระบวนทัศน์ของอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณาตยา ภักษา. (2558). พัฒนาการของกระแสวัฒนธรรมสมัยนิยมเกาหลีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับการรวมกลุ่มและพื้นที่กิจกรรมของแฟนคลับผ่านสถาบันสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทย. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพปฎล พลศิลป์. (22 พฤศจิกายน 2564). การเดินทางของภาพยนตร์เกาหลี จากโรงหนังในกรุงโซไปถึงโรงภาพยนตร์ทั่วโลก. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2566, จาก https://www.gqthailand.com/culture/article/why-korean-films-are-now-showing-at-theaters-worldwide

นักศึกษาที่มีพฤติกรรมการแต่งกายเลียนแบบสื่อบันเทิงเกาหลี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 31 (1), 209-220.

บุณยนุช นาคะ. (2560). แฟนคลับเกาหลี อัตลักษณ์เชิงวัตถุและชุมชนแฟนคลับ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เบญจพร สุวรรณวงศ์. (2559). กระแสวัฒนธรรมสมัยนิยมเกาหลีกับการสร้างอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่มแฟนคลับ กรณีศึกษากลุ่มแฟนคลับศิลปินเพลงเกาหลีในประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประภาวี ศิวเวทกุล. (2556). กลยุทธ์การตลาดของผู้นำเข้าศิลปินจากประเทศเกาหลีใต้ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผู้ให้สัมภาษณ์จี. (2565). แฟนคลับดาราเกาหลี. สัมภาษณ์. 4 ธันวาคม.

ผู้ให้สัมภาษณ์เจ. (2565). แฟนคลับศิลปินเกาหลี. สัมภาษณ์. 4 ธันวาคม.

ผู้ให้สัมภาษณ์ซี. (2565). แฟนคลับดาราเกาหลี. สัมภาษณ์. 4 ธันวาคม.

ผู้ให้สัมภาษณ์บี. (2565). แฟนคลับดาราเกาหลี. สัมภาษณ์. 4 ธันวาคม.

ผู้ให้สัมภาษณ์อี. (2565). แฟนคลับดาราเกาหลี. สัมภาษณ์. 4 ธันวาคม.

ผู้ให้สัมภาษณ์เอ. (2565). แฟนคลับดาราเกาหลี. สัมภาษณ์. 4 ธันวาคม.

ผู้ให้สัมภาษณ์เอช. (2565). แฟนคลับศิลปินเกาหลี. สัมภาษณ์. 4 ธันวาคม.

ผู้ให้สัมภาษณ์เอฟ. (2565). แฟนคลับศิลปินเกาหลี. สัมภาษณ์. 4 ธันวาคม.

ผู้ให้สัมภาษณ์ไอ. (2565). แฟนคลับศิลปินเกาหลี. สัมภาษณ์. 4 ธันวาคม.

พงษ์ทัช จิตวิบูลย์ และเกษตรชัย และหีม. (2563). ทัศนคติ แรงจูงใจ และความชื่นชอบในการบริโภคสื่อของนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการแต่งกายเลียนแบบสื่อบันเทิงเกาหลี. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 31 (1), 209-220.

พรทิพย์ เย็นจะบก. (2559). อิทธิพลของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่มีผลต่อการครอบงำและสูญสลายของวัฒนธรรมในประเทศอาเซียน: กรณีศึกษาประเทศ สปป. ลาว. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 36 (4), 76-89.

ไพบูลย์ ปีตะเสน และจิราพร จันจุฬา. (2563). ถอดรหัสเส้นทางสู่ฮัน-รยู 4.0. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 12 (2), 1-17.

ภูเบศร์ สมุทรจักร. (2554). Hallyu...วัฒนธรรมส่งออก เรื่องไม่ใหม่ แต่ไม่เคลียร์ และยังไม่จบ. วารสารเพื่อการเพิ่มผลผลิต. 16 (90), 33-37.

รมิตา สาสุวรรณ์. (2560). การเปิดรับกับทัศนคติและพฤติกรรมการเลียนแบบวัฒนธรรมเกาหลีของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาวารสาร ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัฒนา สุกัณศีล. (2548). โลกาภิวัตน์ (Globalization). กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ศิริพร ดาบเพชร. (2565). K Wave กับเศรษฐกิจเกาหลีใต้. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุดาพร พรสมบุญดี. (2564). พัฒนาการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้ตั้งแต่ ค.ศ. 2000-2021. บทความวิจัยปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุเนตร ชุตินธรานนท์ และฐณยศ โล่พัฒนานนท์. (2561). การสร้างภาพลักษณ์ผ่านสื่อบันเทิงกับก้าวย่างสู่ประเทศไทย 4.0: ศึกษากรณีซีรีย์โทรทัศน์เกาหลีใต้. รายงานการวิจัย. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

อาโป เอกอนันต์กูล. (2561). พัฒนาการของกระแส K-WAVE: กรณีศึกษาละครชุดเกาหลีในไทย (ค.ศ. 2000-ปัจจุบัน). บทความวิจัยปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอกรัฐ วิเศษฤทธิ์. (2552). อิทธิพลจากละครโทรทัศน์เกาหลีที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย: กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Suphisara Sukkasem. (12 มิถุนายน 2566). นโยบายส่งเสริม Soft Power ของเกาหลีใต้. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2566, จาก https://www.ditp.go.th/post/126705

#JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-02