การพัฒนาความสามารถการปักซาชิโกะโดยใช้สะดึงสำหรับนักเรียนหูหนวกตาบอด

ผู้แต่ง

  • ราตรี มีชัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รัชนีกร ทองสุขดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สร้อยสุดา วิทยากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิกุล เลียวสิริพงศ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนาความสามารถ, การปักซาชิโกะ, นักเรียนหูหนวกตาบอด, รูปแบบสะดึง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถการปักซาชิโกะโดยใช้สะดึงสำหรับนักเรียนหูหนวกตาบอด เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา กรณีศึกษาเป็นนักเรียนหูหนวกตาบอดระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สะดึง 5 รูปแบบ ได้แก่ สะดึงวงกลม สะดึงวงรี สะดึงสามเหลี่ยม สะดึงสี่เหลี่ยมและสะดึงหกเหลี่ยม 2) แผนการสอนเฉพาะบุคคล จำนวน 5 แผน 3) แบบประเมินความสามารถการปักซาชิโกะโดยใช้สะดึง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาความสามารถการปักซาชิโกะโดยใช้สะดึงรูปแบบต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นอยู่ระหว่างร้อยละ 5.55-11.11 รูปแบบสะดึงที่พัฒนาความสามารถนักเรียนหูหนวกตาบอดปักซาชิโกะได้ดีที่สุด คือ สะดึงวงกลมและสะดึงวงรี ส่วนสะดึงสามเหลี่ยม สะดึงสี่เหลี่ยมและสะดึงหกเหลี่ยมมีมุมและด้านเข้ามาเกี่ยวข้องจึงไม่สะดวกในการปัก ผู้วิจัยจึงช่วยเหลือโดยการให้สัมผัสตัวอย่างของการปักซาชิโกะเพิ่มมากขึ้น ด้วยการสัมผัสเตือนและนำทางอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะการปักที่ต้องเลี้ยวตามมุมของสะดึงจึงสามารถทำได้ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1. การพัฒนาความสามารถการปักซาชิโกะโดยใช้สะดึงด้วยการสัมผัสมือแบบมือใต้มือ ทำให้ผู้เรียนรับรู้สัมผัสถึงการเคลื่อนไหวมือของผู้ช่วยเหลือและผู้เรียนรู้สึกสบายใจและควบคุมการปักได้ 2. การเลือกและปรับอุปกรณ์สำหรับปักซาชิโกะให้เหมาะกับสภาพของผู้เรียนเป็นอุปกรณ์ช่วยในการกำหนดทิศทางการปักซาชิโกะสำหรับนักเรียนพิการหูหนวกตาบอดได้จริง

References

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทีมงานปักจิตปักใจ. (7 มิถุนายน 2562). การเดินทางของเส้นด้ายในความมืดจากตาบอดทอสู่ตาบอดปักเพื่อเปลี่ยน “ภาระ”ให้เป็น”พลัง”. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, จาก https://www.facebook.com/309069069835625/posts/473654706710393/

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. (8 มิถุนายน 2552). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 80 ง. หน้า 45-47.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

ภวัญญา แก้วนันตา. (2562). ครูผู้สอนและที่ปรึกษาโครงการปักจิตปักใจสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กลุ่มภาคเหนือตอนบน. สัมภาษณ์. 20 กันยายน.

รุ่งทิวา ไชยชมภู. (2564). โอกาสและการเข้าถึงการศึกษาของบุคคลพิการซ้อน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สอนประจันทร์ เสียงเย็น. (2564). ผลของการใช้การเสริมแรงทางบวกเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดอนอุดม (เนยอุปถัมภ์). วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 7 (3), 15-26.

สุนันทา กลิ่นถาวร และณัฐพงษ์ พันธุ์มณี. (2562). การวิเคราะห์และออกแบบสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค 3R. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุรพันธ์ แสงสุวรรณ และบีซัน ตัน. (21 พฤศจิกายน 2561). เปิดตา เปิดใจ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, จาก https://readthecloud.co/pakjitpakjai/

วรรณี ลิมอักษร. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลา.

อัชรา เอิบสุขสิริ. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัชรา เอิบสุขสิริ. (2561). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

American Association of DEAF BLIND. (n.d.). DEAF BLIND. Retrieved September 20, 2019, from http://www.aadb.org/

Atsushijp. (27 April 2017a). How to Start Sashiko: A Tutorial from Sashiko Artisans. Retrieved September 20, 2019, from https://upcyclestitches.com/sashiko/

Atsushijp. (29 March 2017b). What-is-sashiko: As a Sashiko Artisan. Retrieved December 2, 2020, from https://upcyclestitches.com/what-is-sashiko/

Connectcenter. (n.d.). Hand-under-Hand Instruction for Children with Blindness or Low Vision. Retrieved September 27, 2023, from https://familyconnect.org/browse-by-age/infants-and-toddlers/education-iandt/hand-under-hand-and-hand-over-hand/

Deafblind Information Australia. (n.d.). What is Deafblindness? Retrieved August 12, 2019, from http://www.deafblindinformation.org.au/about-deafblindness/what-is-deafblindness/

Fall, C. (8 May 2019). Sashiko Folk Embroidery: A Japanese Art. Retrieved September 20, 2019, from https://www.thesprucecrafts.com/sashiko-embroidery-1177614

Hayes, C. (2019). Sashiko Needlework Reborn: From Functional Technology to Decorative Art. Japanese Studies. 39 (2), 263-280.

Miles, B. and Riggio, M. (1999). Remarkable Conversations: A Guide to Developing Meaningful Communication with Children and Young Adults Who Are Deafblind. Watertown, MA: Perkins School for the Blind.

Van, S. S. (n.d.). Setting up a Craft Area: Tips for Setting up Your Craft Area. Retrieved October 22, 2019, from https://aphconnectcenter.org/visionaware/recreation-and-leisure/arts-and-crafts/setting-up-a-craft-area/

Webster, J. (2 October 2019). Hand over Hand Prompting for Children with Disabilities. Retrieved October 22, 2019, from https://www.thoughtco.com/hand-over-hand-prompting-3110838

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30