การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลด้วยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4

ผู้แต่ง

  • สุชาดา เมฆพัฒน์ หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ถนัด บุญชัย หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ภูเบศ พวงแก้ว หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ศิริมาศ โกศัลย์พิพ้ฒน์ หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การพัฒนาครูมืออาชีพ, ยุคดิจิทัล, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลด้วยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มเป้าหมายได้จากการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการจัดประชุมกลุ่มย่อยของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูมืออาชีพมี 7 ด้าน ได้แก่ (1) ความเป็นครู (2) จริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู (3) ความสามารถด้านวิชาการ (4) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (5) การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (6) ความมีประสิทธิภาพและความมีประสิทธิผล (7) นักวิจัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=3.19; S.D.=0.88) ส่วนปัญหาการพัฒนาครูมืออาชีพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.11; S.D.=0.70) 2) การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลโดยได้รูปแบบ POSES TEACHER ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ (1) P: Principle (หลักการ) (2) O: Objective (วัตถุประสงค์) (3) S: System (ระบบกลไกการพัฒนารูปแบบ) ได้แก่ 3.1 T: Teacher (ความเป็นครู) 3.2 E: Ethics (จริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ) 3.3 A: Academic (ความสามารถด้านวิชาการ) 3.4 C: Computer & Digital Technology (คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล) 3.5 H: Human Relationship (การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี) 3.6 E: Efficiency & Effectiveness (ความมีประสิทธิภาพและความมีประสิทธิผล) 3.7 R: Researcher (การเป็นนักวิจัย) (4) E: Evaluation (การวัดและประเมินผล) (5) S: Success (เงื่อนไขความสำเร็จ) องค์ความรู้จากการวิจัย คือ ได้รูปแบบการพัฒนาครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลที่เรียกว่า POSES TEACHER

References

ฉัตรชัย หวังมีจงมี และองอาจ นัยพัฒน์. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. วารสารสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 12 (2), 47-63.

ชาญเดช วีรกุล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจการปฏิบัติงานกับขวัญในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 5 (จังหวัดอุบลราชธานี). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ชูเกียรติ ไชยทวีวิวัฒน์กุล. (26 มีนาคม 2563). การศึกษาไทยในยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.acn.ac.th/articles/mod/forum/discuss.php?d=384

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันท์นภัส ชัยสงคราม. (2561). การเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557ก). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557ข). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. รายงานการวิจัย. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วนิดา ภูชำนิ และคณะ. (2564). การพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11 (3), 155-169.

วิจารณ์ พานิช. (2559). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2556). แนวคิดในการสร้างมาตรฐานวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันข้าราชการพลเรือน.

สุธาสินี แม้นญาติ. (2564). การพัฒนารูปแบบโค้ชสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู. 1 (2), 194-211.

สุวัจน์ ศรีสวัสดิ์. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อติพร เกิดเรือง. (2560). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 6 (1), 173-184.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24