การใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียนพิการซ้อน โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรม, นักเรียนพิการซ้อน, โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแผนการสอนเฉพาะบุคคลในการพัฒนาทักษะการจำพยัญชนะไทยสำหรับนักเรียนพิการซ้อน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้ชุดกิจกรรมทักษะการจำพยัญชนะไทย สำหรับนักเรียนพิการซ้อน ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรม เป็นวิจัยเชิงทดลอง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 7 คน เลือกศึกษานักเรียนพิการซ้อนจำนวน 3 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แผนการสอนเฉพาะบุคคล 2) แบบประเมินแบบประเมินค่าความเหมาะสมของแผนการสอนเฉพาะบุคคล 3) แบบประเมินผู้เรียนด้านทักษะการจำพยัญชนะไทยของนักเรียนพิการซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตารางประกอบคำบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการหาประสิทธิภาพแผนการสอนเฉพาะบุคคล โดยใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียนพิการซ้อน โรงเรียนศรีสังวาลเชียงใหม่ จากการตรวจสอบแผนการสอนเฉพาะบุคคลของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.53) 2) การเปรียบเทียบผลใช้ชุดกิจกรรมในการพัฒนาทักษะการจำพยัญชนะไทย ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมของนักเรียนพิการซ้อนพบว่า ก่อนการใช้ชุดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 45 และหลังการใช้ชุดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 90 โดยนักเรียนมีทักษะการจำพยัญชนะไทยเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมาก องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) การนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการซ้อนในช่วงชั้นอื่นได้ 2) การนำไปใช้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้เกิดรูปแบบอื่นได้ 3) การปรับปรุงให้เหมาะสมกับช่วงวัยและบริบทของโรงเรียนแต่ละแห่ง
References
กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์. (2561ก). นิทานผสานอักษร เล่ม 1 ก ถ ภ ฎ ฏ. กรุงเทพมหานคร: อักษร เอ็ดดูเคชั่น.
กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์. (2561ข). นิทานผสานอักษร เล่ม 2 ข ช. กรุงเทพมหานคร: อักษร เอ็ดดูเคชั่น.
กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์. (2561ค). นิทานผสานอักษร เล่ม 3 บ ป ษ. กรุงเทพมหานคร: อักษร เอ็ดดูเคชั่น.
คณวร สัญญะ และเดือนเพ็ญพร ชัยภักดี. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5 (3), 99-110.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการศึกษา: ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ณัชพร ศุภสมุทร์. (2554). คู่มือการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิต.
ณัฐพร กองสิน. (2561). การออกแบบสื่อกราฟิกเคลื่อนไหว 2 มิติ เพื่อช่วยในการจำพยัญชนะไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: เอสอาร์พริ้นติ้ง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. (8 มิถุนายน 2552). ราชกิจจานุเบกษา เลม 126 ตอนพิเศษ 80 ง. หน้า 45-47.
ศศิธร ชาลีพรหม. (2552). การให้ความช่วยเหลือทางการศึกษานักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นและบกพร่องทางการเรียนรู้: กรณีศึกษาโรงเรียนซอยแอนเนกซ์ (กาญจญาภิเษก 2). กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนซอยแอนเนกซ์ (กาญจญาภิเษก 2).
ศุภัชญา ศุภเมธากร. (2564). การพัฒนาความสามารถในการจำและความคงทนในการจำพยัญชนะไทยโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยจินตภาพกับการเล่าเรื่องสำหรับเด็กนักเรียนระดับปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2548). อักษรไทยมาจากไหน. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
Marzano, R. J. (2001). Designing a New Taxonomy of Educational Objectives. Thousand Oaks, California: Corwin Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.