รูปแบบการสื่อสารเพื่อการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่องรุ่นใหม่จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • พีรญา รัตนจันท์วงศ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสาร คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กิตติมา ชาญวิชัย หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสาร คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อัจฉรา ศรีพันธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสาร คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

รูปแบบการสื่อสาร, การสื่อสารเพื่อการพัฒนา, เกษตรกรปราดเปรื่องรุ่นใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดเชียงราย 2. เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารการเกษตรเพื่อการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่องรุ่นใหม่ในจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร นักวิชาการ เกษตรกรต้นแบบ เกษตรกรปราดเปรื่องรุ่นใหม่และเกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวน 33 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่มและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม จากนั้น นำข้อมูลที่ผ่านการจำแนกมาวิเคราะห์และตีความ

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันการสื่อสารประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีการสื่อสารแบบทางเดียวและสองทาง (2) สารที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและสารที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตร (3) ช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อกิจกรรม สื่อเฉพาะกิจและสื่อใหม่ (4) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้การสื่อสารทุกช่องทางและการสื่อสารแบบกระจายอำนาจ (5) สำหรับเครื่องมือหรือสื่อที่ใช้ในการเรียนรู้แบบนำตนเอง ได้แก่ สื่อบุคคล สถาบันการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ การฝึกอบรม การศึกษาดูงานและการเข้าร่วมแข่งขันนำเสนอโมเดลทางธุรกิจ 2) รูปแบบการสื่อสารการเกษตรประกอบด้วย (1) คุณลักษณะของผู้ส่งสาร คือ ผู้จัดการการเรียนรู้ พี่เลี้ยงและที่ปรึกษา (2) คุณลักษณะของเกษตรกรรุ่นใหม่ คือ พึ่งพาตนเอง เข้าหาโอกาส การบริหารจัดการ เป็นต้นแบบ ใฝ่เรียนรู้ ปรับตัวและปฏิบัติ มีความรับผิดชอบ สานสัมพันธ์เครือข่าย เข้าถึงเทคโนโลยีและภูมิปัญญา และมีความสามารถในการถ่ายทอด (3) กลยุทธ์การสื่อสาร ได้แก่ การใช้กลยุทธ์การสร้างสาร กลยุทธ์การนำเสนอสารและกลยุทธ์การใช้สื่อ องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารเพื่อพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่องรุ่นใหม่ประกอบด้วยคุณลักษณะและบทบาทของผู้ส่งสารและเกษตรกรรุ่นใหม่ องค์ประกอบการสื่อสาร กลยุทธ์การสื่อสาร การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและเครื่องมือหรือสื่อที่ใช้ในการเรียนรู้แบบนำตนเอง

References

กัมพล ปั้นตะกั่ว และนิพนธ์ พัวพงศกร. (5 กุมภาพันธ์ 2565). การตั้งหลักใหม่ภาคเกษตรไทยในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2566, จาก https://tdri.or.th/2023/02/strategy-for-agricultural-growth/

เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ. (2556). ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและประชาสัมพันธ์งานส่งเสริม การเกษตรหน่วยที่ 2 ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสารสนเทศและสื่อที่ใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นนทญา หงษ์รัตน์. (2550). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโรงเรียนชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศ ศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). (1 พฤศจิกายน 2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง. หน้า 1.

ปิยพักตร์ สินบัวทอง. (2542). สารนิเทศศาสตร์และนิเทศศาสตร์. บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มข. 17 (3), 46-68.

พนม คลี่ฉายา. (2549). เอกสารประกอบการบรรยายวิชา 2803675 การประยุกต์สื่อเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติกาล เจนจัด และคณะ. (2562). กระบวนการพัฒนานักสื่อสารงานวิจัยท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่งานวิจัย. วารสารศาสตร์. 12 (3), 205-250.

ศรินยา คำพิลา. (2546). การเรียนรู้เพื่อพึ่งตนเองและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. ใน ฉันทนา บรรพศิริโชติ. ผู้ใหญ่วิบูลย์กับการเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. ฉะเชิงเทรา: ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ่านตะวันออก (วนเกษตร).

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2556). ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดีและข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน. วารสารนักบริหาร. 33 (4), 42-54.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย. (2565). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย (พ.ศ. 2566-2570). เชียงราย: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). สถิติผู้มีงานทำ. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/02.aspx

สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม. (2563). Presentation Canvas เปลี่ยนการขายเป็นการเล่าเรื่องให้โดนใจ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.

อมราภรณ์ หมีปาน. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการการศึกษาต่อเนื่องทางวิชาชีพแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก. 10 (2), 47-57.

อรัญญา แสนสระ. (2563). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อลิสา เลี้ยงรื่นรมย์ และคณะ. (2562). การจัดการความรู้เพื่อขยายผลการผลิตข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากผนัง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วันที่ 12 กรกฎาคม. หน้า 215-222.

Knowles, M. S. (1975). Self-directed Learning: A Guide for Learners and Teachers. Chicago, IL: Follett. Follett Publishing Company.

Pintrich, P. R. (2004). A Conceptual Framework for Assessing Motivation and Self-regulated Learning in College Students. Educational Psychology Review. 16, 385-407. DOI: 10.1007/s10648-004-0006-x

Schunk, D. H. and Zimmerman, B. J. (eds.). (1998). Self-regulated Learning: From Teaching to Self-reflective Practice. New York: Guilford Publication.

The Standard Team. (28 กันยายน 2560). Pitching ที่ดีเป็นอย่างไร? ไม่ใช่แค่เรื่องราวหรือสไลด์ แต่เป็นการวางกลยุทธ์เพื่อชนะใจคนฟัง. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2566, จาก https://thestandard.co/ais-the-startup-persuasive-startup-pitching/

JSBS TCI1 MCUPHAYAO

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-10