กลยุทธ์การบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบปกติใหม่ของวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • พรทิวา นามทิพย์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กาญจนา บุญส่ง หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การบริหาร, การอาชีวศึกษา, ระบบทวิภาคี, ความปกติใหม่, วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบปกติใหม่ของวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี 2. เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบปกติใหม่ของวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็

ผลการวิจัย 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบปกติใหม่ของวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรีพบว่า ผลการศึกษาของสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน 2. กลยุทธ์การบริหารการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบปกติใหม่ของวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรีมี 6 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) การเสริมสร้างเครือข่ายในการจัดการศึกษาทวิภาคีแบบปกติใหม่ 2) การสร้างความเข้าใจการศึกษาทวิภาคีแบบปกติใหม่ 3) การพัฒนาแผนการเรียนและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนระบบทวิภาคีแบบปกติใหม่ 4) การเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถการผลิตกำลังคนมีคุณภาพแบบปกติใหม่ 5) การปรับปรุงและพัฒนาการนิเทศการศึกษาระบบทวิภาคีแบบปกติใหม่ 6) การพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถระบบประเมินผลการศึกษาทวิภาคีแบบปกติใหม่ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1. การเพิ่มโอกาสให้สถานประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. การนิเทศการศึกษาทวิภาคีมีศักยภาพสูงขึ้น 3. การวัดผลประเมินผลสอดคล้องกับสมรรถนะอาชีพ 4. ผู้เรียนมีทักษะอาชีพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน

References

นิมิต ศรียาภัย. (2565). กลยุทธ์การบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีร่วมกับสถานประกอบการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน. การประชุมวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม ระดับชาติครั้งที่ 2 เรื่อง เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4. วันที่ 9-10 มิถุนายน. หน้า 1-10.

เพชรโยธิน ราษฎร์เจริญ. (2564). กลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี. e-Journal of Education Studies, Burapha University. 3 (3), 19-37.

เมือง สุวรรณแสนทวี และคณะ. (2563). การบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 โดยใช้หลักอิทธิบาท 4. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 4 (2), 33-43.

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และคณะ. (29 เมษายน 2564). ผลกระทบ COVID-19 ระบาดรอบ 2 ต่อเนื่องรอบ 3 กับทิศทางตลาดแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2566, จาก https://tdri.or.th/2021/04/covid-19-2-3-affected-thai-labor-market/

วชิรวิชญ์ ผาดำ และวิเชียร รู้ยืนยง. (2564). แนวทางการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11 (3), 38-50.

วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี. (2563). คู่มือนักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครอง ปี 2563. เพชรบุรี: เพชรภูมิการพิมพ์.

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี. (2556). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักส์.

สุระชัย ลาพิมพ์ และกาญจน์ เรืองมนตรี. (2563). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ของวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 8 (30), 137-147.

สุวิทย์ สวัสดี และชัยยุทธ ศิริสุทธ์. (2564). กลยุทธ์การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9 (1), 139-151.

Coulter, M. (2008). Strategic Management in Action, 4th ed. New Jersey: Person Education, Inc.

Robbins, S. P. and Coulter, M. (2012). Management, 11th ed. Boston: Pearson.

#JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06