การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเอส คิว โฟว์ อาร์ ร่วมกับแผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, เอส คิว โฟว์ อาร์, แผนผังความคิดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ด้วยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบเอส คิว โฟว์ อาร์ ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด และสอบถามทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบเอส คิว โฟว์ อาร์ ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามทัศนคติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีคะแนนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนก่อนและหลังเรียนจำแนกตามระดับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจพบว่า คะแนนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนทุกระดับสูงกว่าก่อนเรียน นอกจากนี้ เมื่อจำแนกความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการแปลความ ด้านการตีความ และด้านการขยายความพบว่า ค่าผลต่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนในแต่ละด้านของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเอส คิว โฟว์ อาร์ ร่วมกับแผนผังความคิดช่วยพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนได้ และทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเอส คิว โฟว์ อาร์ ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด ในภาพรวมมีทัศนคติในเชิงบวก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การจัดการเรียนรู้แบบเอส คิว โฟว์ อาร์ มีขั้นตอนที่ชัดเจน ทำให้นักเรียนทราบเป้าหมายและจุดประสงค์ของการอ่าน โดยมีครูผู้สอนคอยแนะนำ ชี้แนะและตรวจสอบความถูกต้อง รวมถึงอธิบายเพิ่มเติม และการสรุปเนื้อหาในรูปแบบของแผนผังความคิด ทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจและจดจำเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น
References
จันทรพิมพ์ รังษี. (2565). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง. การค้นคว้าอิสระปริญญาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิตรา จันทราเกตุรวิ. (2565). การพัฒนาชุดฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยเทคนิคการสร้างแผนที่ความคิดของผู้เรียนในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสารบริหารธุรกิจและภาษา, 10 (1), 6-37.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
ฐิติกาญจน์ จันทรสมบัติ. (2552). การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมหาวิชานุกูล. วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 1 (1), 73-85.
เด่นดวง บัวทองหลาง. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เชิงรุก. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 2 (1), 17-31.
ธนพล พุฒพรึก และทิพาพร สุจารี. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5 (2), 43-51.
ปิยธิดา ยะเคียน และจิตติมา กาวีระ. (2561). ผลกระทบของการสอนอ่านแบบ SQ4R ที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคน่าน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 4 (3), 141-152.
พิมพ์ชนก ปิงสุแสน. (2561). การบูรณาการวิธีการสอนแบบ SQ4R กับการใช้เอกสารจริง เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
มันทนา อุตทอง. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเนินมะหาด จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
เมธิรา ผาตินุวัติ. (2562). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และแนวทางการบูรณาการทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในวิชาภาษาอังกฤษสำหรับการบิน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ. 7 (1), 34-42.
รุ่งตะวัน นวลแก้ว และคณะ (2562). ผลของการสอนอ่านโดยใช้แผนผังความคิดที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคลองวัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 12 (1), 110-120.
วรัญญา สินธุสำราญ. (2554). ผลของการใช้เทคนิคการสร้างแผนที่ความคิดที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วราวรรณ นันสถิตย์ และอัฐพล อินต๊ะเสนา. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 41 (4), 73-85.
สุปวีณ์ ชมภูนุช. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบเอส คิว โฟว์ อาร์ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการเขียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศิลปการจัดการ. 4 (2), 355-370.
อรรชนิดา หวานคง. (2563). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ตามกรอบมาตรฐาน CEFR. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 7 (2), 303-314.
อาณัติ รัตนถิรกุล. (2553). สร้าง Mind Map อย่างชาญฉลาดด้วย MindManager. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Buzan, T. (1974). Use Your Head. London: BBC.
Pauk, W. (1984). The New SQ4R. Reading World. 23 (3), 274-275.
Paulston, C. B. and Bruder, M. N. (1978). Interaction Activities in the Foreign Classroom or How to Grow the Tulip Rose in Developing Communications Skill. London: Longman Group.
Rawengwan, W. and Yawiloeng, R. (2020). Reciprocal Teaching Method for Enhancing Thai EFL learners' Reading Comprehension Ability. Sripatum Review of Humanities and Social Sciences. 20 (1), 105-123.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.