รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนบางตะบูนของโรงเรียนบางตะบูนวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาครู, การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนบางตะบูนของโรงเรียนบางตะบูนวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนบางตะบูนของโรงเรียนบางตะบูนวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูโรงเรียนบางตะบูนวิทยาจำนวน 15 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนบางตะบูน 2) แผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนบางตะบูน และ 3) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนบางตะบูน 7 ขั้นตอน โดยใช้ชื่อว่า S-TABOON และ 2) ผลการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนบางตะบูนพบว่า ด้านพัฒนาการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนบางตะบูนสูงขึ้นจากก่อนการพัฒนา โดยภาพรวมร้อยละ 71.58 อยู่ในระดับพัฒนาการสูง และด้านพัฒนาการด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนบางตะบูน ภาพรวมอยู่ในระดับสูง (=2.83; S.D.=0.34) องค์ความรู้จาการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนบางตะบูนมี 7 ขั้นตอน (S-TABOON) ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการวิเคราะห์สวอต (S) ขั้นที่ 2 การร่วมกันทำงานของครู (T) ขั้นที่ 3 การร่วมวิเคราะห์ตัวชี้วัดการเรียนรู้ (A) ขั้นที่ 4 การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้อย่างสมดุลและยั่งยืน (B) ขั้นที่ 5 คุณภาพของผู้เรียน (O) ขั้นที่ 6 การร่วมกันจัดการองค์กร (O) และขั้นที่ 7 การสร้างเครือข่ายกันในโรงเรียนและการสะท้อนผลการปฏิบัติงานพัฒนาครู (N)
References
จิตรา ขวัญยืน. (2559). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องพืชในระบบนิเวศป่าชายเลน ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ชมภูนุช ประเสริฐ์จิตต์. (2563). อดีตผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์และศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนโรงเรียนบางตะบูนวิทยา. สัมภาษณ์. 24 สิงหาคม.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2535). ความพัฒนาครู. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์.
ยุภาลัย มะลิซ้อน. (2563). วิจัยศึกษาการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุจิเรข เที่ยงตรง. (2561). การพัฒนาบทปฏิบัติการที่เน้นแหล่งเรียนรู้เป็นฐานเรื่องป่าชายเลนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรรณภา โคตรพันธ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูที่เสริมสร้างการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของครูระดับประถมศึกษาบนฐานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วศินี รุ่งเรือง. (2562). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่ส่งเสริมศิลปะการสอนของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมจิต จันทร์ฉาย. (2557). การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สุพักษ์ สมสา. (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านโคกกุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
โสภณ แย้มทองคำ.(2552). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูของข้าราชการครูทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค). วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรวรรณ วรรณฤทัย. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักศึกษาสอนศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.