การพัฒนาทักษะการอ่านสัทอักษรจีนโดยใช้แบบฝึกอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โปรแกรมซี อี เอส พี โรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ชมนาด นุ้ยภิรมย์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ชนินทร์ ยาระณะ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วารุณี โพธาสินธุ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

สัทอักษรจีน, การพัฒนาทักษะการอ่าน, แบบฝึกอ่าน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของแบบฝึกอ่านสัทอักษรจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โปรแกรมซี อี เอส พี โรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ และ 2) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการอ่านสัทอักษรภาษาจีน จากการใช้แบบฝึกอ่านสัทอักษรจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โปรแกรมซี อี เอส พี โรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โปรแกรมซี อี เอส พี โรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบฝึกอ่านสัทอักษรจีนจำนวน 7 ชุด และแบบทดสอบการอ่านสัทอักษรจีน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า 1) แบบฝึกอ่านสัทอักษรจีนมีความถูกต้องและเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.8 คะแนน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยแบบฝึกอ่านสัทอักษรจีนมีค่าเท่ากับร้อยละ 86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 60 และค่าเฉลี่ยด้านทักษะการอ่านสัทอักษรจีนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 53 และค่าเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 86 นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างเรียนด้วยแบบฝึกทั้ง 7 ชุดคิดเป็นร้อยละ 85.7 และค่าเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 86.7 องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาทักษะการอ่านสัทภาษาจีน คือ การฝึกฝนโดยมีครูเป็นผู้สนับสนุน โดยครูควรอธิบายวิธีการออกเสียงต่าง ๆ ในเนื้อหา โดยควรจะเน้นคำที่มีการออกเสียงยากเป็นพิเศษ เพื่อผู้เรียนจะได้เข้าใจง่ายต่อการฝึกฝน การใช้รูปภาพที่สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจในการฝึกฝนนั้น ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้และเข้าใจ และสามารถเรียนรู้วิธีการออกเสียงและเปล่งเสียงออกมา

References

กชนันท์ เข็มสกุลทอง. (2562). การพัฒนาทักษะการออกเสียง โดยใช้ชุดฝึกการอ่านออกเสียงสัทอักษรพินอิน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนปางศิลาทองศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เถลิง แก้วเสน่ห์. (2538). อ่านอย่างไรให้ดี, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

เบญจอาภา พิเศษสกุลวงศ์. (2559). การศึกษาปัญหาการออกเสียงสัทอักษรจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ประภัสรา โคตะขุน. (4 เมษายน 2564). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2565, จาก https://prapasara.blogspot.com/2021/04/blog-post.html

พิณพร คงแท่น และอัญชนา ทองกระจาย. (2562). การพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนกลาง สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏหาสารคาม.

มัณทนา ชินนาพันธ์. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสัทอักษร (พินอิน) โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

มาลี จุฑา. (2544). การประยุกต์จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.

ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). รายงานวิจัยการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หทัยรัตน์ เติมใจ. (2552). การพัฒนาสื่อการสอนวิชาภาษาจีนด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เรียนภาษาจีนระดับกลาง. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Huang, B. (2017). Modern Chinese. Beijing: Zhongguo Shihua.

#JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-21