การพัฒนาความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับบทบาทสมมติ
คำสำคัญ:
ความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม, โครงงานเป็นฐาน, บทบาทสมมติบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับบทบาทสมมติ และเปรียบเทียบความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับบทบาทสมมติ มีตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) จำนวน 36 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับบทบาทสมมติ แบบวัดความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม แบบสะท้อนคิด และแบบสัมภาษณ์ความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนและหลังเรียนด้วยการทดสอบทีแบบประชากรสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับบทบาทสมมติ นักเรียนมีความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมอยู่ในระดับมาก (=4.07; S.D.=0.49) แต่ผลการเปรียบเทียบความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับบทบาทสมมติพบว่า ค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 การวิจัยครั้งนี้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ ขั้นแสวงหาความรู้ ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ และขั้นนำเสนอผลงานและประเมินผล
References
คณพล วงศ์วิเศษไพบูลย์. (ม.ป.ป.). กล้าสร้างสรรค์ เปิดรับความแตกต่าง และไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ อนาคตที่น่าสนุกยิ่งขึ้นเมื่อ Gen z ได้ครองโลก. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566, จาก https://adaymagazine.com/genz-dare-to-be-different/
ชวิน พงษ์ผจญ. (2561). สภาพปัญหาในการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างสันติสุขของโรงเรียนรัฐบาลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 44 (2), 116–157.
เชษฐภูมิ วรรณไพศาล และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวทางพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนิสิต นักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ. วารสารครุศาสตร์. 44 (2), 57-73.
ฐิติมดี อาพัทธนานนท์. (2561). โรงเรียนหลากวัฒนธรรม: นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐไทยในสังคมพหุวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐริกา ก้อนเงิน. (2558). ผลการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานโดยใช้เครื่องมือการเรียนรู้ร่วมกันออนไลน์ด้วยเทคนิคดอกบัวบานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพวรรณ ยอดธรรม และปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. (2558). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนววิถีประมงพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมความตระหนักทางวัฒนธรรมในเด็กปฐมวัย. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์. 26 (3), 37-41. DOI:10.14456/asj-psu.2015.30
บังอร ร้อยกรอง. (2553). แนวทางการจัดการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัวกัญญา สุรัตพิพิธ. (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตและการเปิดรับสื่อของกลุ่มเจเนอเรชั่นแซดที่มีความสนใจด้านศิลปะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2557). คุณลักษณะบทบาทและรูปแบบการสื่อสารของผู้สอนในมหาวิทยาลัยที่ถูกคาดหวังในบริบทการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า. (2554). การสอนแบบโครงงานสู่การปฏิบัติจริงด้วยวิธีการ “ยั่วให้นึก ฝึกให้คิด”. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า.
อับดุลสุโก ดินอะ. (17 สิงหาคม 2560). ข้อห่วงกังวลของชุมชนพุทธและมุสลิมในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2565, จาก https://deepsouthwatch.org/th/node/11160
Akharraz, M. (2021). The Impact of Project-based Learning on Students’ Cultural Awareness. International Journal of Language and Literary Studies. 3 (2), 54-80. DOI: 10.36892/ijlls.v3i2.601
Arthur Jr, W. and Bennett Jr, W. (1995). The International Assignee: The Relative Importance of Factors Perceived to Contribute to Success. Personnel Psychology. 48 (1), 99-114. DOI:10.1111/j.1744-6570.1995.tb01748.x
Bender, W. N. (2012). Project-based Learning: Differentiating Instruction for the 21st Century. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Cantey, D. S., et al. (2017). Student-developed Simulations: Enhancing Cultural Awareness and Understanding Social Determinants of Health. Journal of Nursing Education. 56 (4), 243-246. DOI:10.3928/01484834-20170323-11
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing, 5th ed. New York: Harper & Row.
Intel Education Initiative. (2007). Designing Effective Projects: Characteristics of Projects. Benefits of Project-based Learning. Santa Clara, CA: Intel Corporation.
Knutson, E. M. (2006). Cross-cultural Awareness for Second/Foreign Language Learners. The Canadian Modern Language Review. 62 (4), 591-610.
Nieto, S. (2009). Language, Culture, and Teaching: Critical Perspectives. New York: Routledge.
Quappe, S., and Cantatore, G. (n.d.). What is Cultural Awareness, Anyway? How Do I Build It. Retrieved July 17, 2022, from http://www.insynctraining.nl/artikelen/what_is_cultural_awareness.pdf
Rachmajanti, S. (2017). Building Cultural Awareness and Critical Thinking Skills through Project-based Task: A Workshop for Indonesian Context. The 4th International Conference on Language, Society, and Culture in Asian Contexts (LSCAC). Knowledge Engaging Minds Social Sciences. 24–25 May 2016. pp. 498–504. DOI: 10.18502/kss.v1i3.77
Ross, K. G., & Thornson, C. A. (2008). Toward an Operational Definition of Cross-cultural Competence from the Literature. Orlando, FL: Cognitive Performance Group.
Shearer, R., and Davidhizar, R. (2003). Using Role Play to Develop Cultural Competence. Journal of Nursing Education. 42 (6), 273-276.
Smith, A., et al. (2016). The Integration of Education and Peacebuilding: Synthesis Report on Myanmar, Pakistan, South Africa and Uganda. Coleraine: Ulster University.
Smith, P. B. (2004). Nations, Cultures, and Individuals: New Perspectives and Old Dilemmas. Journal of Cross-Cultural Psychology. 35 (1), 6-12. DOI:10.1177/0022022103260460
Tomlinson, C. A. (2001). How to Differentiate Instruction in Mixed-ability Classrooms. Alexandria, VA: The Association for Supervision and Curriculum.
United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2014). UNESCO Roadmap for Implementing the Global Action Programme on Education for Sustainable Development. Paris: The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO).
Van Ments, M. (1999). The Effective Use of Role-play: Practical Techniques for Improving Learning, 2nd ed. London: Kogan Page Publishers.
Xu, K. (2016). The Strategies of Fostering Students’ Cross-cultural Awareness in Secondary School English Teaching. Open Journal of Social Sciences. 4 (6), 161-170. DOI: 10.4236/jss.2016.46018
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.