ปัจจัยที่มีผลต่อสืบสานการผลิตข้าวเหนียวพันธุ์ไก่น้อยตามวัฒนธรรมพื้นบ้านของเกษตรกร แขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • พรแก้ว อานุศักดิ์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สายสกุล ฟองมูล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กังสดาล กนกหงส์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น, ข้าวเหนียวพันธุ์ไก่น้อย, ข้าวพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการสืบสานการผลิตข้าวเหนียวพันธุ์ไก่น้อยตามวัฒนธรรมพื้นบ้านของเกษตรกร และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสืบสานการผลิตข้าวเหนียวพันธุ์ไก่น้อยตามวัฒนธรรมพื้นบ้านของเกษตรกร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ไก่น้อยแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 313 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์พหุถดถอย

ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีการสืบสานการผลิตข้าวเหนียวพันธุ์ไก่น้อยตามวัฒนธรรมพื้นบ้านรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.60; S.D.=0.31) และปัจจัยที่มีผลต่อสืบสานการผลิตข้าวเหนียวพันธุ์ไก่น้อยตามวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 8 ปัจจัย ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด จำนวนรายได้รวมของครัวเรือน จำนวนพื้นที่ดินถือครอง ประสบการณ์ในการปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ไก่น้อย จำนวนครั้งในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร การเข้าร่วมพิธีกรรมทางประเพณี และทัศนคติที่มีต่อสืบสานการปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ไก่น้อยตามวัฒนธรรมพื้นบ้าน ซึ่งทั้งหมดมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การพบแนวปฏิบัติในด้านประเพณีและความเชื่อ ด้านการเตรียมพื้นที่ ด้านการเพาะปลูก ด้านการดูแลรักษา ด้านการเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และด้านการใช้ประโยชน์จากข้าวเหนียวพันธุ์ไก่น้อย

References

เกรียงไกร แสนพลหาญ และภาณุพันธุ์ ประภาติกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง น้ำดอกไม้สีทองส่งออกในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร. 46 (ฉบับพิเศษ 1), 887-893.

ประทานทิพย์ กระมล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์และปลอดสารพิษในตลาดเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร. 42 (ฉบับพิเศษ 2), 227-234.

พงศธร ยอดดำเนิน. (2565). ขวัญข้าว: นาฏกรรมสร้างสรรค์จากวัฒนธรรมข้าวชุมชนเขมรถิ่นไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์. 9 (2), 37-52.

พิสิทธิ์ เข้มมี. (2555). การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวนาโยนของเกษตรกรในอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัลลภ ทองอ่อน. (2558). กระบวนการเรียนรู้ในการผลิตข้าวปลอดภัยชุมชน บ้านหนองปิ้งไก่ จังหวัดกําแพงเพชร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3 (2), 123-131.

สุดชล วุ้นประเสริฐ และธีรยุทธ เกิดไทย. (2558). การจัดการดินและน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยตอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

อรพิมพ์ สุริยา และคณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตกล้วยหอมของเกษตรกรในอำเพอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 9 (2) 208-218.

อานนท์ ตั้งพิทักษ์ไกร และพัชรินทร์ ธนฤทธิ์ไพศาล. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. Journal of Modern Learning Development. 7 (3), 234-250.

Akudugu, M. A., et al. (2012). Adoption of Modern Agricultural Production Technologies by Farm Households in Ghana: What Factors Influence their Decisions? Journal of Biology, Agriculture and Healthcare. 2 (3), 1-14.

Chanthavong, I, et al. (2018). Factors Related to Farmers’ Adoption of Good Agricultural Practices Farming Standards in Champhone District, Savannakhet Province, Lao People's Democratic Republic. Journal of Agricultural Research & Extension. 36 (2), 106-117.

Fakkhong, S. and Suwanmaneepong, S. (2017). The Implementation of Good Agricultural Practice among Rice Farmers in Eastern Region of Bangkok, Thailand. International Journal of Agricultural Technology. 13 (7.3), 2509-2522.

Lao Statistics Bureau. (2015). Statistics Yearbook 2015. Vientiane: Lao PDR.

Ministry of Agriculture and Forestry. (2017). Expanding Clean Agriculture Production to Supply Market Demands together with Improved International Market Access can Serve to Catalyse Growth in the Lao Organic Produce Sector. Vientiane: Department of Agronomy.

Ministry of Planning and Investment. (2016). 8th Five-Year National Socio-Economic Development Plan (2016–2020). Vientiane: Lao PDR.

Phanthanivong, I. (2013). Report of the Survey of Khao Kai Noy Rice Fields in the Highlands of Xieng Khouang Province. Luang Phabang: Souphanouvong University.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, 3rd ed. New York: Harper and Row Publication.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13