การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา ในรายวิชาประวัติศาสตร์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงใหม่มัธยม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กานต์หทัย ฤทธิไตรภพ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • อำนาจ จันทร์แป้น หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วารุณี โพธาสินธุ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดวิเคราะห์, วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา, วิชาประวัติศาสตร์ไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย วิชาประวัติศาสตร์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีสอนแบบโมเดลซิปปาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย วิชาประวัติศาสตร์ไทย โดยวิธีสอนแบบโมเดลซิปปา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเชียงใหม่มัธยม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 44 คน โดยได้จากการเลือกแบบการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวทดสอบก่อนหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย วิชาประวัติศาสตร์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีสอนแบบโมเดลซิปปาที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.10/80.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบโมเดลซิปปา เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 องค์ความรู้จากการวิจัย คือ วิธีสอนแบบโมเดลซิปปาโดยใช้บทเรียนที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับสภาพท้องถิ่นหรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เป็นกระบวนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิดและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ สามารถสร้างความรู้ ค้นพบความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีบทบาทมากในกิจกรรมการเรียนการสอน และผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

References

กรมวิชาการ. (2544). ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิ่งดาว กุลชา. (2562). การพัฒนาความรู้เรื่อง การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา. รายงานการวิจัย. โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร.

เกตุมณี มากมี. (2563). วิจัยในชั้นเรียน, พิมพ์ครั้งที่ 3. ม.ป.ท: ม.ป.พ.

จุฑามาศ เจริญธรรม. (2549). การจัดการเรียนรู้กระบวนการคิด. นนทบุรี: สุรัตน์การพิมพ์.

ชยาภรณ์ เค้านา. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดล ซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ณรงค์ พ่วงพิศ และวุฒิชัย มูลศิลป์. (2563). ประวัติศาสตร์ไทย, พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: ไทยร่มเกล้า.

ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโมเดลซิปปา (CIPPA Model). วารสารวิชาการ. (27), 1-17.

ทิศนา แขมมณี. (2552). องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิรมล ศตวุฒิ. (2548). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

วนิดา พรชัย. (2548). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุมาลี คำสว่าง. (2561). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาร่วมกับรูปแบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เอธัส ศิลารักษ์ และจิฑาภรณ์ อินทร์แย้ม. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคซิปปา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS #มจร. พะเยา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-22