การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมตามกระบวนการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • อารยา ปู่เกตุแก้ว หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กอบสุข คงมนัส หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กิตติพงษ์ พุ่มพวง หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้, ห้องเรียนกลับด้าน, สื่อสังคม, การเรียนแบบปัญหาเป็นฐาน, การรู้เท่าทันสื่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมตามกระบวนการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ และ 3) เพื่อรับรองรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา จำนวน 30 รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมตามกระบวนการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี แผนการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมตามกระบวนการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี แบบทดสอบการรู้เท่าทันสื่อ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินการรู้เท่าทันสื่อด้วยตนเอง แบบประเมินผลงาน แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระและค่าประสิทธิภาพของรูปแบบ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80

ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อสังคมตามกระบวนการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) บทบาทผู้เรียน/ผู้สอน (5) สื่อการเรียนรู้ (6) กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ (7) การวัดและประเมินผล มีขั้นตอนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นศึกษาปัญหา (2) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (3) ขั้นศึกษาค้นคว้า (4) ขั้นสังเคราะห์ปัญหา (5) ขั้นสรุปการเรียนรู้ (6) ขั้นนำเสนอผลงาน 2) ผลการใช้รูปแบบฯ มีดังนี้ (1) ผู้เรียนมีผลการทดสอบการรู้เท่าทันสื่อหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) พฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อจากการใช้สื่อสังคมมีระดับการปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 88.21 ผ่านเกณฑ์ 80% (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบประสิทธิภาพกระบวนการและผลลัพธ์ E1/E2 เท่ากับ 80.58/83.50 (4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การรับรองรูปแบบฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้สื่อสังคมตามกระบวนการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อที่เรียกว่า SUSBSP Model ซึ่งสามารถส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อได้

References

กรวรรณ สืบสม และนพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร. 6 (2), 118-127.

กิตติศักดิ์ ใจอ่อน และกตัญญุตา บางโท. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 24 (1), 99-109.

จิตติ์โศภิณ บุญเชิด และวาสนา กีรติจำเริญ. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14 (4), 251-263.

โตมร อภิวันทนากร. (2562). คู่มือจัดกระบวนการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ปิ่นโต พับลิชชิ่ง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พันทิพา อมรฤทธิ์ และคณะ. (2564). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. รายงานการวิจัย. วิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

มงคล จิตรโสภิณ. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานผ่าน Google Classroom รายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. Journal of Modern Learning Development. 7 (2), 242-259.

มาริษา สุจิตวนิช และเยาวภา บัวเวช. (2563). การรู้เท่าทันสื่อ ประโยชน์และการนำไปใช้ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 7 (2), 216-229.

รินทร์ลภัส เกตุวีระพงศ์. (2564). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์การรู้เท่าทันสื่อและการตระหนักรู้การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร. 17 (2), 143-160.

วสันต์ ศรีหิรัญ. (2561). การพัฒนารูปแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์สำหรับห้องเรียนแบบกลับด้านที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (ม.ป.ป.). การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy). สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564, จาก https://shorturl.asia/X387O

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.

สุวดี อุปปินใจ และพูนชัย ยาวิราช. (2562). การจัดการชั้นเรียนยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 1 (4), 51-65.

เสาวนีย์ วรรณประภา และคณะ. (2562). การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์และพฤติกรรมการใช้สื่อของนักศึกษาหลักสูตรสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลับราชภัฏรำไพพรรณี. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “Graduate School Conference 2019”. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วันที่ 15 พฤศจิกายน. หน้า 684-693.

อุทิศ บำรุงชีพ. (2563). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับทางผ่านกูเกิ้ลคลาวด์คอมพิวติ้งและสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะวิถีแห่งการคิดในศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตครู. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (4), 1552-1566.

อุษา บิ้กกิ้นส์. (2555). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. วารสารสุทธิปริทัศน์. 26 (80), 147-161.

Center for Media Literacy. (n.d.). Five Key Questions of Media Literacy. Retrieved June 29, 2020, from http://www.medialit.org/sites/default/files/14B_CCKQPoster+5essays.pdf

Joyce, B. and Weil, M. (2000). Model of Teaching, 6th ed. New Jersey: Prentice Hall.

Savery, J. R. (2006). Overview of Problem-based Learning: Definitions and Distinctions. Interdisciplinary Journal of Problem-based Learning. 1 (1), 9-20. DOI:10.7771/1541-5015.1002

We Are Social and Hootsuite. (15 February 2022). DIGITAL 2022: THAILAND. Retrieved March 23, 2023, from https://datareportal.com/reports/digital-2022-thailand

#JSBS #TCI1 #MCUPHAYAO

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01