แนวทางการจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้หญิงในการจัดการความรุนแรงในครอบครัว

ผู้แต่ง

  • สุขพัชรมณี กันแต่ง หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อัจฉรา ศรีพันธ์ หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิต, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, ความรุนแรงในครอบครัว, ผู้หญิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อสร้างและนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้หญิงในการจัดการความรุนแรงในครอบครัวในจังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรงในครอบครัว ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู นักสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งนายกและสมาชิกสมาคมสตรีศรีสองแคว เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและร่างแนวทางการจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิตฯ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามขั้นตอนของโคไลซ์ซี่

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้หญิงในจังหวัดพิษณุโลกถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นทุกปีและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สาเหตุมาจากการดื่มสุรา ติดสารเสพติด จึงส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งผู้หญิงจัดการความรุนแรงด้วยการเล่าเรื่องราวที่ตนได้รับความรุนแรงให้คนที่เชื่อใจและยินดีรับฟังแล้วจึงขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ ผู้หญิงพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเริ่มจากการรู้สึกถึงคุณค่าและความภาคภูมิใจในตนเอง 2) แนวทางการจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้หญิงในการจัดการความรุนแรงในครอบครัว ประกอบด้วยการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งใช้ทักษะในจัดการศึกษา คือ การแก้ไขปัญหา ความภาคภูมิใจในตนเองและการตระหนักรู้ในตนเอง โดยมีรูปแบบ วิธีการดำเนินการ การจัดกิจกรรมและการประเมินผล องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) ทักษะการแก้ไขปัญหา 2) ทักษะความภาคภูมิใจในตนเอง 3) ทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัว สำหรับการรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ประจำปี 2562. กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมสุขภาพจิต. (27 เมษายน 2564). จะทำอย่างไร เมื่อความรุนแรงไม่ใช่เรื่องไกลตัวและบ้านไม่ใช่ Safe Zone ของทุกคน. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30715

เกษตรชัย และหีม และเก็ตถวา บุญปราการ. (2559). ภูมิหลังครอบครัวที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงในครอบครัวของคู่สมรสไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 57 (2), 83-105.

เกียรติเฉลิม รักษ์งาม. (2565). สภาพปัญหาและแนวทางการป้องกันความรุนแรงในครอบครัวในจังหวัดปทุมธานี: กรณีศึกษาช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

นภาภรณ์ หะวานนท์. (2555). คำให้การของผู้หญิงที่ถูกสามีทำร้าย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

นันทินี ศุภมงคล. (2547). ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมและกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปพิชญา สุนทรพิทักษ์. (2563). ผู้หญิงกับประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัว กรณีศึกษามูลนิธิหญิงชายก้าวไกล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (14 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74ก. หน้า 1-23.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (28 เมษายน 2558). ผู้หญิงไทยกับเด็ก เหยื่อความรุนแรง. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2566, จาก https://shorturl.asia/AB16Z

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2563). ปัญหาความรุนแรงครอบครัว ภัยเงียบในวิกฤตโรคโควิด 19. จดหมายข่าวมุมมองสิทธิ์. 19 (4), 1-3.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุกัญญา สดศรี. (2561). ปัญหาการใช้ความรุนแรงของครอบครัวในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6 (ฉบับพิเศษ), 600-609.

สุกิจ อยู่ในธรรม. (2561). มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว: ศึกษากรณีการจดทะเบียนสมรส. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 8 (2), 45-51.

สุวรรณี หาญมุสิกวัฒน์กูร และคณะ. (2555). ความรุนแรงบนฐานเพศภาวะและความรุนแรงในครอบครัว: ฐานคิดทางสังคมและวัฒนธรรมรากเหง้าของความรุนแรงที่ยิ่งกว่า. วารสารเพศวิถีศึกษา. 2 (1), 79-96.

หทัยรัตน์ มาประณีต. (2554). การศึกษาทัศนคติด้านความรุนแรงต่อสตรีของสตรีในชุมชนเมือง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 3 (6), 162-177.

อังคณา ช่วยค้ำชู. (2555). ความรุนแรงในครอบครัว: สาเหตุ ผลกระทบและแนวทางการช่วยเหลือ. วารสารธรรมศาสตร์. 31 (3), 130-145.

Elizabeth, H. (24 February 2020). Maslow's Hierarchy of Needs Explained. Retrieved January 25, 2023, from https://www.thoughtco.com/maslows-hierarchy-of-needs-4582571

Lankarani, K. B., et al. (2022). Domestic Violence and Associated Factors during COVID-19 Epidemic: An Online Population-based Study in Iran. BMC Public Health. 22, 774. DOI: 10.1186/s12889-022-12536-y

Rogers, C. (1951). Client-centered Therapy: Its Current Practice, Implications and Theory. London: Constable.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17