การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ไอโมเดล
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตร, หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ซิปป์ไอโมเดลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) โดยใช้วิธีการประเมินแบบซิปป์ไอโมเดล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน 178 คน ผู้ปกครอง 18 คน ผู้บริหาร 7 คน อาจารย์ 36 คน และอาจารย์ระดับอุดมศึกษา 15 คน รวมทั้งสิ้น 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 4 ชุด แบบสัมภาษณ์ในการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรในภาพรวมของนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหาร อาจารย์และอาจารย์ระดับอุดมศึกษามีค่าระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้บริหารและอาจารย์มีค่าระดับความคิดเห็นมากที่สุดในด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก (=4.37; S.D.=0.60) ส่วนนักเรียนและผู้ปกครองมีค่าระดับความคิดเห็นมากที่สุดในด้านผลกระทบ อยู่ในระดับมาก (=4.33; S.D.=0.70) และอาจารย์ระดับอุดมศึกษามีค่าระดับความคิดเห็นมากที่สุดในด้านผลกระทบ อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.53; S.D.=0.50) และ 2) แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรพบว่า นักเรียนและผู้ปกครองได้เสนอแนะการปรับปรุงในด้านบริบท ส่วนอาจารย์และผู้บริหารได้เสนอแนะการปรับปรุงในด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ และอาจารย์ระดับอุดมศึกษาได้เสนอแนะการปรับปรุงในด้านผลผลิต องค์ความรู้จากการวิจัย คือ ซิปป์ไอโมเดลเป็นรูปแบบการประเมินหลักสูตรทั้งระบบที่มีการประเมินแบบต่อเนื่อง โดยมีการขยายมิติการประเมินผลกระทบที่เพิ่มขึ้นและครอบคลุมการประเมินด้านผลผลิตเดิม ทำให้ผู้ประเมินทราบระดับความสอดคล้องและเหมาะสมจากข้อมูลผลลัพธ์ของการดำเนินการ นอกจากนี้ ยังได้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจและนำไปเป็นแนวทางสู่การแก้ไข เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งในหลักสูตร หรือปรับปรุงกระบวนการในขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรได้
References
กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา ลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2564). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ, พิมพ์ครั้งที่ 8 (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: เอ็มดี ออล กราฟิก.
ทิพยาภา มานะสม. (2564). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมอังกฤษ-สังคม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 32 (2), 106-119.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS, พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: วี.อินเตอร์ พริ้นท์.
ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
นิตยา เปลื้องนุช. (2555). การบริหารหลักสูตร, พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภาสกร ภักดิ์ศรีแพง. (2562). การประเมินหลักสูตรโปรแกรมเน้นความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 13 (1), 97-106.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (23 กุมภาพันธ์ 2555). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2566, จาก https://home.kku.ac.th/meeting/Document/regs_sathit2555.pdf
มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). คู่มือการประเมินหลักสูตร. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ. (2560). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10 (2), 1198-1216.
รุจิราพร รามศิริ และคณะ. (2564). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 13 (2), 498-517.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง). (2561). หลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ขอนแก่น: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง). (เอกสารอัดสำเนา)
วัชรี บูรณสิงห์. (2548). การบริหารหลักสูตร, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สหวรัชญ์ พลหาญ. (2566). ทักษะแห่งอนาคตสำหรับคนรุ่นใหม่: การทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขต. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. 46 (1), 56-75.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2554). บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ. 2549-2553) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.
สิทธิพล อาจอินทร์. (2563). การประเมินหลักสูตร: ทฤษฎีและปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุธิดา ผาพรม. (2563). การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารการศึกษาไทย. 17 (2), 55-60.
สุลาวัลย์ หงส์ปาน และคณะ. (2556). การติดตามและประเมินการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 19 (1), 183-190.
อรุณี สาลี. (2563). ทักษะในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21 กับความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น. 7 (3), 52-61.
อิทธิเดช น้อยไม้. (2564). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมอังกฤษ-คณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23 (3), 382-394.
Skilbeck, M. (1984). School Based Curriculum Development. London: Harper & Row Publishers.
Stufflebeam, D. L., et al. (1971). Educational Evaluation and Division Making. Itasca, IIT: Peacock.
Stufflebeam, D. L. and Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, 3rded. New York: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.