การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์การบวกและการลบโดยใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร

ผู้แต่ง

  • กฤติกานต์ คำจันทร์แก้ว หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วารุณี โพธาสินธุ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ศรีทัย สุขยศศรี หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, ความบกพร่องทางการได้ยิน, สื่อประสม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อประสม ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 8 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสื่อประสมแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์การบวกและการลบ จำนวน 4 เรื่อง แบบประเมินคุณภาพของสื่อประสม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพสื่อประสมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์การบวกและการลบ มีค่าเท่ากับ 80.31/81.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (gif.latex?\bar{X}=32.75) มีค่าสูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{X}=15.38) องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การสร้างสื่อการเรียนการสอนซึ่งเป็นวีดิทัศน์ที่มีภาษามือและสื่อที่เป็นรูปภาพ สามารถเพิ่มความรู้ความสามารถด้านวิธีการแก้โจทย์ปัญหาได้ นอกจากนี้ การใช้ภาษามือประกอบมีความเหมาะสมกับกลุ่มนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมากกว่าสื่อที่มีเพียงรูปภาพ

References

จุฑาทิพย์ เรืองงาม และคณะ. (2562). การพัฒนาสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 3 (2), 30-42.

ณัฎฐา ศรีรอด และกรวิภา สรรพกิจจำนง. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเวลา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนสื่อประสมชุดเวลาพาเพลิน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5 (2), 371-382.

ธนศักดิ์ แสนสำราญ และคณะ. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่โดยการใช้สื่อประสม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23 (2), 181-191.

พรรณวดี ปัญจพรพล. (2551). การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนบกพร่องทางการได้ยินชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 วิชาคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (5 กุมภาพันธ์ 2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก. หน้า 1-13.

ภัคมาลย์ ลัมพะบุตร. (2545). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทย สำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนศึกษาพิเศษจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มลิวัลย์ ธรรมแสง. (ม.ป.ป.). คนหูหนวก: ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและระบบวิธีสอน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

รุจิภา โพธิ์สุวรรณ์. (2540). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนสื่อประสมกับการสอนตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศิณิส์ภา พัชรธนโรจน์ และพริ้มไพร วงค์ชมภู. (2564). การพัฒนาสื่อประสมเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชท้องถิ่นในชุมชนวัดช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 13 (1), 100-114.

อลงกรณ์ อัมพุช และวิจิตรา โพธิสาร. (2561). การออกแบบและพัฒนาสื่อประสม เรื่องประชาคมอาเซียน ของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 9 (2), 60-66.

#JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-04