การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้ชุดฝึกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร)

ผู้แต่ง

  • รัชกร สุดสงวน หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ชนินทร์ ยาระนะ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วารุณี โพธาสินธุ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ชุดฝึกทักษะภาษา, ทักษะการฟัง, ทักษะการพูด, การสอนภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร) ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ขึ้นไป และ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้ชุดฝึกทักษะการฟังและการพูดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ จำนวน 8 ชุด คือ 1. My Body 2. My Classroom 3. My Place 4. My Family 5. My Favorite Hobby 6. My Favorite Food 7. My Favorite Fruit 8. My Favorite Sport (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการฟังและการพูด จำนวน 30 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร) มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.66/87.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน .05 องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การใช้ชุดฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ ใช้เทคนิคการเรียนร่วมโดยวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่เน้นพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ และเน้นความเข้าใจในการฟัง เช่น ประโยคคำสั่งแบบสั้น คำศัพท์หรือวลี และมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินในการเรียนรู้และนำมาซึ่งการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหงประเทศไทยจำกัด.

กัลยา จันเลน และคณะ. (2558). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้เกม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 8 (18), 98-106.

เคลือวัลย์ ดวงพร. (2555). การใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้งานปฏิบัติเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารแบบเน้นบริบทท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

บุบผา อยู่ทรัพย์. (2555). การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาผ่านการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. วารสารวิจัย มสด สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (2), 189-204.

ประนอม สุรัสวดี. (2539). กิจกรรมและการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

พิมพ์ชนก เนยพลับ. (2557). การเรียนภาษาอังกฤษแบบประสบการณ์เพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษและแรงจูงใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รมณียา สุรธรรมจรรยา. (2558). ผลการใช้แอปพลิเคชันสำหรับสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษบนแท็บเล็ตวิชาภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัฐพงษ์ สุทธิวรารัฐกานต์ และไชยวัฒน์ ชุ่มนาเสียว. (2565). การพัฒนาทักษะการฟัง ทักษะการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (9), 396-410.

วราพรรณ จิตรัมย์. (2559). ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้เทคนิค CLT. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิลาวัณย์ บุญชุ่ม. (2550). การใช้กิจกรรมการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟัง พูด ภาษาอังกฤษ และปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนของนักเรียนชาวไทยภูเขา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวรรณา ดีไพบูลย์ และคณะ. (2558). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

เสาวภาคย์ ศรีโยธา. (2555). ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. ใน สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีรักษ์ มีแจ้ง และสิริพร ปาณาวงษ์. (2553). ผลของการใช้หลักสูตรฝึกอบรมกลยุทธ์การอ่านต่อความเข้าใจในการใช้กลยุทธ์การอ่านและความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Kaplan, R. S. and Norton, D. P. (1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategies into Action. Boston: Harvard Business School Press.

วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-15