การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนในรายวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • นิลุบล เกตุแก้ว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • กฤติมา สุวรรณโร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • วันทา เจะแหละหมัน โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเรียน, รายวิชาภาษาไทย, การเรียนรู้โดยเน้นกิจกรรมเป็นฐาน, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานในรายวิชาภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนในรายวิชาภาษาไทยที่เกี่ยวกับตนเอง พฤติกรรมที่สัมพันธ์กับผู้อื่น และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับงาน ภาระงานของรายวิชา และ3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนในรายวิชาภาษาไทยก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน แบบวัดพฤติกรรมการเรียนวิชาภาษาไทยและแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนในรายวิชาภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเลขคณิตด้วยการทดสอบค่าที ส่วนแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนในรายวิชาภาษาไทยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจำแนกพฤติกรรมการเรียนตามระดับของเจตคติ

ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน จำนวน 12 แผน 12 ชั่วโมง มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=3.93; S.D.=0.29) 2) หลังจากจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน ผู้เรียนมีผลคะแนนพฤติกรรมการเรียนจากแบบวัดพฤติกรรมการเรียนในรายวิชาภาษาไทยมีผลคะแนนพฤติกรรมการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=39.13; S.D.=2.26) 3) คะแนนพฤติกรรมการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนตามระดับของเจตคติในการเรียนระดับสูงมากกว่าระดับต่ำ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนในรายวิชาภาษาไทย ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นปฏิบัติ ขั้นที่ 2 ขั้นค้นพบ ขั้นที่ 3 ขั้นวิเคราะห์ ขั้นที่ 4 ขั้นนำไปใช้ และขั้นที่ 5 ขั้นสะท้อนคิด

References

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 19 (1), 11-28.

จินดา ลาโพธิ์. (2563). พฤติกรรมการสอนของครูกับการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (5), 34-45.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน และเอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 11 (2), 38-48.

ณัฐวุฒิ สกุณี. (2559). การพัฒนาเจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวุฒิ สกุณี. (2560). การพัฒนาเจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 12 (2), 50-66.

ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา และธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2553). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 1 (2), 126-139.

ภัทรสร นรเหรียญ และชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.). 22 (9), 46-61.

ยศวีร์ สายฟ้า. (2 พฤษภาคม 2565). Lerning Loss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566, จาก https://research.eef.or.th/learning-loss-recession/

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2550). การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานกับการสร้างเด็กเก่ง. กรุงเทพมหานคร: ซี เอ็ด ยูเคชั่น.

ศศิธร ลิจันทร์พร และจินตวีร์ คล้ายสังข์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานโดยใช้แอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 9 (4), 13-26.

เสกสรร สุขเสนา และอุบลวรรณ ส่งเสริม. (2561). พัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (2), 2967-2980.

อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์ และปัญญา พรหมบุตร. (2563). ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. วารสารวิจัยวิชาการ. 3 (3), 47-58.

Festus, A. and David, D. (2013). Attitude of Primary School Mathematics Teachers towards the Use of Activity-base Learning Methods in Teaching Mathematics in Nigerian School. The International Journal of Education Learning and Development. 1 (1), 22-36.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology. 22 (140), 1-55.

McGrath and MacEwan. (2011). Linking Pedagogical Practices of Activity-based Teaching. The International Journal of Interdisciplinary Social Sciences. 8 (12), 261-274.

#JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-14