การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทุนภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชุมชนเมืองเก่าสบสม-หาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์ชุมชน , ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, ชุมชนเมืองเก่า, อำเภอเชียงของบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเมืองเก่าสบสม-หาดไคร้ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน นักปราชญ์ ผู้รู้ด้านประวัติศาสตร์และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 35 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวการสนทนากลุ่ม เวทีการค้นหาพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเมืองเก่าและการฝึกปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยการสรุปประเด็นสำคัญและการจัดหมวดหมู่ข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนเมืองเก่าสบสม-หาดไคร้มีประวัติศาสตร์ยาวนานและทุนภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) การพัฒนายันต์เทียนที่สามารถใช้งานได้สะดวกและคงคติความเชื่อและหลักการเดิม 2) การพัฒนาตุงที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนโดยการพัฒนาลวดลายเป็นรูปปลาบึกที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชุมชน องค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัย คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทุนภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนที่ยั่งยืนต้องอาศัยหลักการ 4 ประการ ได้แก่ 1) การสร้างการมีส่วนร่วม 2) การสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของภูมิปัญญา 3) การพัฒนาคุณค่าสู่มูลค่า และ 4) ทักษะการผลิตภัณฑ์ชุมชน
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (ม.ป.ป.). วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์เป้าประสงค์. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก https://policy.m-culture.go.th/th/vision-2
ขวัญกมล ดอนขวา. (2561). แบบจำลองเศรษฐกิจสร้างสรรค์และพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์มีผลต่อยุทธศาสตร์ระยะยาวการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38 (1), 207-232.
คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดเชียงราย. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน 2565). เชียงราย: สำนักงานจังหวัดเชียงราย.
จง บุญประชา. (2553). แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของที่ระลึก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จิราพร มะโนวัง และวาสนา เสภา (2563). การพัฒนาภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมพื้นบ้านของผู้สูงอายุเพื่อเข้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์). 13 (1), 128-140.
ใจภักดิ์ บุรพเจตนา. (2559). การประยุกต์ลวดลายจากอัตลักษณ์ผ้าทอตีนจกแม่แจ่มเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเชิงวัฒนธรรมประเภทของตกแต่งบ้าน. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9 (3), 1720-1738.
ณิชกานต์ ไชยจักร์ และอติเทพ แจ้ดนาลาว. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชุนประเภทของที่ระลึกด้วยศิลปะทวารวดี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 42 (4), 15-28.
พรสวรรค์ หมายยอด และคณะ. (ม.ป.ป.). กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสาสากล. เชียงใหม่: ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.
ภาพเก่าเล่าเรื่องเชียงของ. (3 มิถุนายน 2565). เอกสารบ้านสบสมและบ้านหาดไคร้เมืองเก่าของเมืองเชียงของมาก่อน. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2565, จาก https://www.facebook.com/photo?fbid=3639010666223263&set=pcb.3639030306221299
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย. (ม.ป.ป.). วัดหลวงหรือวัดไชยสถาน. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.cots.go.th/travelview/detail.php?id=204
อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง และคณะ. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงประเพณีและวิถีชีวิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในเส้นทางอารยธรรมล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.