องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผู้แต่ง

  • น้ำเงิน จันทรมณี หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • น้ำผึ้ง อินทะเนตร หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, โมเดลการวัด, คุณภาพชีวิตการทำงาน, อาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐจำนวน 820 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงาน อันประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 16 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งหมดจำนวน 39 ข้อ โดยข้อคำถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.520-0.806 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.972 จากนั้น วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับขั้นที่สองด้วยโปรแกรม Mplus แล้วนำเสนอผลการศึกษาแบบบรรยาย ตารางและโมเดล

ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2=86.727, df=68, p-value=0.0625, CFI=0.998, TLI=0.996, RMSEA=0.018, SRMR=0.018) และมีความตรงทางการวัด ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 16 ตัวบ่งชี้ ซึ่งองค์ประกอบด้านสิทธิและความเป็นธรรมในองค์การ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานสูงที่สุด (0.909, R2=0.827) และองค์ประกอบด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานน้อยที่สุด (0.765, R2=0.585) ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการวัดและเป็นแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐได้ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ โมเดลการวัดคุณภาพชีวิตการทำงานที่มี 8 องค์ประกอบ 16 ตัวบ่งชี้ สามารถเป็นบ่งชี้ทางพฤติกรรมที่ใช้ในการศึกษาคุณลักษณะของคุณภาพชีวิตการทำงานในกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐได้

References

นาวี อุดร และคณะ. (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 12 (1), 213-222.

น้ำผึ้ง อินทะเนตร. (2561). เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สาขาวิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา. เชียงใหม่: ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุนทรพจน์ ดำรงค์พานิช. (2563). โปรแกรม Mplus กับการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bennett, A. C., and Tibbiitts, S. J. (1989). Maximizing Quality Performance in Health Care Facilities. MD: Aspen.

Bluestone, I. (1977). Implementating Quality–of–worklife Programs. Management Review. 6 (9), 43–46.

Byrne, B. M. (2012). Structural Equation Modeling with Mplus: Basic Concepts, Applications, and Programming. New York: Routledge.

Cascio, C. L. (2003). Management Human Resource: Productivity Quality of Work life Profits, 7th ed. New York: McGraw–Hill.

Ferreira, C., et al. (2014). Quality of Life at Work: The Mental Health Workers Perception of a Public Psychiatric Hospital in Brazil. Asian Journal of Business and Management Sciences. 3 (7), 47-57.

Gordon, J. R. (1991). A Diagnostic Approach to Organizational Behavior, 3rd ed. Massachusetts: Allyn & Bacon.

Hackman, R. J., and Suttle, L. J. (1977). Improving Life at Work; Behavioral Science Approach to Organization Change. Santa Monica, CA: Goodyear.

Hair, J. F., et al. (2018). Multivariate Data Analysis, 8th ed. United Kingdom: Annabel Ainscow.

Hoogland, J. J., and Boomsma, A. (1998). Robustness Studies in Covariance Structure Modeling: An Overview and a Meta-Analysis. Sociological Methods & Research. 26 (3), 329–367.

Huse, E. F., and Cummings, T. G. (1985). Organization Development and Change. St. Paul, MN: West Publishing.

Kim, H.-Y. (2013). Statistical Notes for Clinical Researchers: Assessing Normal Distribution Using Skewness and Kurtosis. Restorative Dentistry & Endodontics. 38 (1), 52-54.

Shrovan, D. J. (1983). Quality of Work Life: Perspectives for Business. Massachusetts: The Public Sector.

Umstot, D. D. (1984). Understanding Organization Behavior. Minnesota: West Publishing.

Walton, R. E. (1973). Quality of Life at Work: What is? Sloan Management Review, Cambridge Mass. 15 (1), 11-21.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-11