การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระศรีรัชมงคลบัณฑิต หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระสุทธิสารเมธี หลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิสัยทัศน์, ยุทธศาสตร์ชาติ, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 2) ศึกษาหลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่ส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ 3) บูรณาการการส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 4) นำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่องการส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา 5 รูป/คน กลุ่มข้าราชการ 5 คน กลุ่มนักวิชาการแผนยุทธศาสตร์ชาติ 5 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในแผนยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี 2 คน รวมจำนวน 17 รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอรายงานการวิจัยเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า 1) วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติ เน้นส่งเสริมความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนทางกายภาพเพื่อความเจริญเติบโตพัฒนาทางเศรษฐกิจ ผลการวิจัยนี้พบว่า การส่งเสริมด้านจิตใจมีการส่งเสริมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทอย่างเด่นชัด 2) หลักพุทธปรัชญาเถรวาทที่นำมาส่งเสริม คือ ศีล สมาธิ ปัญญาเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 3) การส่งเสริมวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ชาติตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทบูรณาการกันได้ ดังนี้ (1) ศีล ส่งเสริมความมั่นคง (2) สมาธิ ส่งเสริมความมั่งคั่ง (3) ปัญญา ส่งเสริมความยั่งยืน องค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์และถือเป็นองค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้ PAU MODEL ได้แก่ (1) ส่งเสริม ความมั่นคงด้วย Precept คือ ความเป็นพื้นฐานแห่งคุณงามความดี ความเป็นปกติของมนุษย์ทั่วไป และข้อห้าม กฎระเบียบของสังคม (2) ส่งเสริมความมั่งคั่งด้วย Attention คือ ความสงบร่มเย็นของจิตใจทำให้สามารถคิดอย่างสร้างสรรค์และความมุ่งมั่นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และ (3) ส่งเสริมความยั่งยืนด้วย Understanding คือ ความรอบรู้ในการดำเนินชีวิต รวมถึงความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและความฉลาดเฉียบแหลมในการสร้างความเจริญได้อย่างยั่งยืน

References

เกสร เกษมชื่นยศ. (2564). การพัฒนาของไทยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. จันทรเกษมสาร. 26 (1), 16-30.

คณะสงฆ์คณะธรรมยุต. (2560). พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร, จัดพิมพ์ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชญาดา เข็มเพชร. (2565). การส่งเสริมความมั่นคงแห่งชาติด้วยพระพุทธศาสนา. วารสารธรรมวัตร. 3 (1), 27-38.

ประภาภรณ์ ภูขาว. (2564). การบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาในเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์. 3 (2), 1-14.

พระทนงค์ศักดิ์ ปภงฺกโร (ดื่นขุนทด). (2554). การมองโลกตามหลักพุทธปรัชญา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). การระดมความคิดเรื่องการบริหารแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: ร่มพฤกษ์.

พระมหาสุรวุฒิ จนฺทธมฺโม (แสงมะโน). (2557). การบริหารจัดการองค์กรตามแนวพุทธศาสน์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระรณชัย กิตฺติราโณ. (2561). การประยุกต์หลักใช้อริยมรรคมีองค์ 8 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีรัตนวิมล. (2563). ศีล 5 กับการจัดการเพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 4 (2), 85-96.

พระศรายุทธ วชิรปญฺโญ และคณะ. (2564). การพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขาเพื่อสร้างสังคมเข้มแข็งอุดมปัญญา. วารสารธรรมวัตร. 2 (1), 23-30.

พระอธิการโสภณ ปิยธมฺโม (กิ่งแก้ว) และคณะ. (2564). พลังบวร: พลังหลักของชุมชนคุณธรรม. ปัญญาปณิธาน. 6 (1), 69-80.

พหล สง่าเนตร. (2564). Star STEMS ปฏิวัติ Mindset ใหม่ นำไทยข้ามวิกฤติ. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. 12 (2), 1-8.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศรวัสย์ มณีโลกย์. (2557). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอริยมรรคมีองค์ 8 สำหรับการปฏิบัติราชการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Pace, R. W., et al. (1991). Human Resource Developmen. New Jersey: Prentice-Hall.

Swansburg, R. C. (1968). Inservice Education. New York: G. P. Putnam's Sons.

Thepa, P. C. A. (2022). Mindfulness: A Buddhism Dialogue of Sustainability Wellbeing. International Webinar Conference on the World Chinese Religions. Nanhua University, Taiwan. 04 February. pp. 1-15.

Watson, T. J. and Zehir, C. (2010). Critical Social Science, Pragmatism, and the Realities of HRM. International Journal of Human Resource Management. 21 (6), 915-931.

Zoller, A. C. (2022). The United Nations and Human Rights. In Ramcharan, B., et al. (eds.). The Protection Roles of Human Rights NGOs: Essays in Honour of Adrien-Claude Zoller. (pp. 885-944). Leiden: Brill Nijhoff.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-28