การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านศิลปะการแสดงเพื่อยกระดับคุณภาพสังคมอย่างยั่งยืน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • จินตนา สายทองคำ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ณรงค์ฤทธิ์ เชาว์กรรม คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • พิมพิกา มหามาตย์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ชาติพันธุ์, คุณภาพสังคม, ศิลปะการแสดง, นาฏศิลป์สร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมศิลปะการแสดงที่สามารถยกระดับคุณภาพสังคมได้อย่างยั่งยืน ขอบเขตด้านเนื้อหามุ่งศึกษาวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม 3) การประชุมกลุ่มย่อย จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำสู่ขั้นตอนการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านศิลปะการแสดงและองค์ประกอบการแสดงชุดชาติพันธุ์สราญ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย พบว่า นวัตกรรมด้านศิลปะการแสดงชุดชาติพันธุ์สราญ มีผลการประเมินความพึงพอใจในการชมการแสดงที่ระดับค่าเฉลี่ย คือ 4.51 อยู่ในระดับดีมาก และเป็นการแสดงที่มีแนวคิดการสร้างสรรค์จากความสำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครปฐม 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ 1) ลาวครั่ง 2) ไทยดำหรือไทยทรงดำ 3) ลาวเวียง 4) ไทยรามัญ 5) ไทยจีน องค์ประกอบการแสดงประกอบด้วย 1) ดนตรีประกอบการแสดง สื่อถึงเอกลักษณ์ของสำเนียงดนตรีชาติพันธุ์ต่าง ๆ 2) กระบวนท่ารำ ใช้การบูรณาการท่ารำพื้นบ้าน ท่ารำนาฏศิลป์ไทย ท่าทางธรรมชาติและท่ารำที่สร้างสรรค์ใหม่เข้าด้วยกัน 3) เครื่องแต่งกาย สร้างสรรค์ขึ้นจากเครื่องแต่งกายอันเป็นอัตลักษณ์พิเศษของกลุ่มชาติพันธุ์ 4) ผู้แสดง ใช้ผู้หญิงจำนวน 8 คน ในด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต นวัตกรรมด้านศิลปะการแสดงชุดชาติพันธุ์สราญสามารถสะท้อน 1) วิถีชีวิตด้านการเกษตรกรรม 2) วิถีชีวิตด้านการทอผ้า 3) วิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมการแต่งกาย 4) วิถีชีวิตการดำรงอยู่ร่วมกัน ตลอดจนช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงวัฒนธรรมผ่านผลิตภัณฑ์ในชุมชนต่าง ๆ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มคนในจังหวัดนครปฐม อันส่งผลให้เกิดรายได้ต่อชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครปฐมได้อย่างดี องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้รูปแบบนาฏศิลป์สร้างสรรค์จากกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครปฐมตามทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ในการส่งเสริมและสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงวัฒนธรรมผ่านนวัตกรรมด้านศิลปะการแสดงชุดชาติพันธุ์สราญ

References

กษิด์เดช เนื่องจำนงค์. (2563). การจัดการความรู้ทางวัฒนธรรม. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 19 (2), 216-230.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). TAT Review: Tourism Go Local ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-go-local/

พจน์มาลย์ สมรรคบุตร. (2538). แนวคิดการประดิษฐ์ท่ารำเซิ้ง. อุดรธานี: โครงการพัฒนาเอกสารและตำรา สำนักส่งเสริมวิชาการ สถาบันราชภัฏอุดรธานี.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2547). คุณครูจำเรียง พุธประดับ ศิลปินแห่งชาติ รูปแบบการเป็นครูผู้ถ่ายทอดนาฏศิลป์ไทยแบบโบราณ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.

วัชรภรณ์ ระยับศรี. (2551). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาเที่ยววัดในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครปฐม. (4 ตุลาคม 2559). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/eAcQB

The Association of Southeast Asian Nations (ASEAN). (2016). ASEAN Community Based Tourism Standard. Jakarta: The ASEAN Secretariat.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-23