การทำแท้ง: มุมมองด้านกฎหมายและศีลธรรมตามแนวพุทธ

ผู้แต่ง

  • พระชลญาณมุนี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชลบุรี
  • เสาร์คำ ใส่แก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชลบุรี

คำสำคัญ:

การทำแท้ง, สิทธิสตรี, ตราบาป

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการกล่าวถึงการทำแท้งบาปหรือไม่ กฎหมายกับศีลธรรมควรเลือกอะไร ในทัศนะทางพระพุทธศาสนา หากมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ไม่ว่าอายุครรภ์เพียง 1 วัน หรือ 1 เดือน ไม่ว่าเหตุผลหรือปัจจัยแวดล้อมใดก็ตาม การทำแท้งถือเป็นบาป และใช้องค์แห่งปาณาติบาตนั้นเป็นเกณฑ์ แม้แพทย์ผู้ให้บริการก็พึงรวมอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว ส่วนประเด็นที่ว่า จะบาปมากหรือน้อย ถือเอาเจตนาและความพยายามในการกระทำเป็นสำคัญ มื่อศีลธรรมกำหนดว่า การทำแท้งเป็นตราบาปแก่สตรีที่เลือกจะยุติการตั้งครรภ์ จึงขัดกับหลักกฎหมายอาญามาตรา 301-305 ที่เห็นถึงความสำคัญของสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของสตรี โดยกำหนดให้การทำแท้งถูกกฎหมายตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมาย จึงนำมาสู่ข้อถกเถียงที่ว่า ชีวิตควรเป็นของใคร กฎหมายกับศีลธรรมควรเลือกอะไร แน่นอนว่า ทางศีลธรรมไม่สนับสนุนการทำแท้งทุกรูปแบบ และทางหลักกฎหมายก็ยอมรับว่า การทำแท้งเป็นสิทธิที่สตรีพึงจะได้รับอย่างถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่แนวคิดทั้ง 2 อย่างจะยืนอยู่บนจุดมุ่งหมายเดียวกัน ดังนั้น องค์ความรู้ใหม่ คือ เมื่อไม่สามารถหยุดการทำแท้งที่เกิดขึ้นในสังคมได้ ควรสนับสนุนและให้ความรู้เกี่ยวกับการทำแท้งที่ปลอดภัยเพื่อลดอันตรายที่จะเกิดขึ้น โดยการให้คำปรึกษาและรับบริการจากแพทย์เฉพาะทางเพื่อเป็นการส่งเสริมสิทธิในชีวิตและร่างกายของสตรี รวมถึงทำให้ทางเลือกที่มีอยู่นั้นตั้งอยู่บนความปลอดภัยและถูกกฎหมาย เป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป

References

ใกล้รุ่ง ภูอ่อนโสม และรัญชนีย์ ศรีสมาน. (2563). อำนาจของผู้หญิง: การท้าทายความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับแนวคิดปิตาธิปไตยในนวนิยายสมัยใหม่. วารสารมนุษย์กับสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6 (1), 43-61.

จรวยพร เหมรังษี. (2564). กฎหมายการทำแท้งกับจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (11), 483-498.

ชฎาภรณ์ วัฒนวิไล. (2558). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะฉุกเฉินในระยะตั้งครรภ์และคลอด. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกรณ์ มณีปกรณ์. (2555). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. กรุงเทพมหานคร: เอ็ม.ที.เพรส.

ประเวศ อินทองปาน. (2548). พุทธศาสนากับจริยศาสตร์ประยุกต์: การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพุทธศาสนากับการทำแท้ง. ใน รวมผลงานวิจัยของคณาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, หน้า 48-75. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). ทำแท้ง: ตัดสินอย่างไร? ชีวิตเริ่มต้นเมื่อไหร่ การทำแท้งในทัศนะของพระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พุทธศักราช 2559. (31 มีนาคม 2559). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 30 ก. หน้า 1-11.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พุทธศักราช 2564. (6 กุมภาพันธ์ 2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 10 ก. หน้า 1-3.

พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชําระใหม่ พุทธศักราช 2535. (8 เมษายน 2535). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 169 ตอน 42. หน้า 1-306.

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พุทธศักราช 2499. (15 พฤศจิกายน 2499). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอน 95 (พิเศษ). หน้า 1-114.

ไพฑูรย์ สวนมะไฟ และอุทัย สติมั่น. (2560). การทำแท้ง: วิกฤติของพุทธจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 1 (3), 155-168.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 1, 12, 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2552). สมนฺตปาสาทิกา นาม วินยฏฺฐกถา (ปฐโม ภาโค), พิมพ์ครั้งที่ 12. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2557). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม 15, 68, พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์. (2551). แพทย์ยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ให้กับหญิงภายใต้เงื่อนไขที่แพทยสภากำหนด:กฎเกณฑ์ทันยุค ที่แพทย์ไทยทุกคนต้องรู้. วารสารเวชบันทึกศิริราช. 1 (2), 114-123.

#JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-11