รูปแบบการฟื้นฟูป่าต้นน้ำแหล่งท่องเที่ยวตาดกวางชี แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • บุญเชี่ยน เพชลำพัน หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กังสดาล กนกหงษ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ, แหล่งท่องเที่ยวตาดกวางชี, หลวงพระบาง, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของป่าต้นน้ำแหล่งท่องเที่ยวตาดกวางชี 2) ศึกษารูปแบบการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสนทนากลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มชุมชนและกลุ่มเจ้าหน้าที่ป่าไม้ทั้งหมด 12 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบสอบถามรูปแบบการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยวิจัย พบว่า 1) ป่าต้นน้ำตาดกวางชีส่วนมากเป็นป่าดงดิบแล้งและป่าเต็งรัง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบและพันธุ์ไม้ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ปัจจุบันมีการเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรมากขึ้น ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างต่อเนื่อง 2) รูปแบบการฟื้นฟูป่าต้นน้ำแหล่งท่องเที่ยวตาดกวางชี เป็นรูปแบบการดำเนินการจากบนลงล่าง ประกอบด้วย 5 หน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำใช้ประโยชน์ป่าต้นน้ำ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์การบริหารชุมชน และประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานรัฐเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทมากที่สุดในการดำเนินงานโดยผ่านองค์การบริหารชุมชนสู่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา องค์ความรู้จากการวิจัย คือ ประชาชนในพื้นที่ป่าต้นน้ำยังดำรงชีวิตโดยการพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะการทำการเกษตรเป็นหลัก ส่วนรูปแบบการฟื้นฟูป่าต้นน้ำประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ ดังนั้น ภาครัฐควรสนับสนุนการเปลี่ยนอาชีพจากการทำเกษตรเป็นอาชีพการให้บริการท่องเที่ยวแทน และภาครัฐต้องเป็นแกนนำในการสร้างแนวร่วมกับชุมชนในเขตต้นน้ำ รวมถึงองค์การบริหารชุมชน ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในการดำเนินการฟื้นฟูป่าแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

References

กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (2548ก). ยุทธศาสตร์ป่าไม้ฮอดปี ค.ศ. 2020 ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. เวียงจันทน์: กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้.

กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (2548ข). ยุทธศาสตร์ป่าไม้ฮอดปี ค.ศ. 2020-2025 ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. เวียงจันทน์: กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้.

คุดสะหวาด พลสีลา. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาตินากาย-น้ำเทิน: กรณีศึกษาบ้านโพนสะอาดเมืองคำเกิดแขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 14 (65), 39-50.

คำวิเศษ เพ็งวันสวรรค์ และคณะ. (2561). แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้เขตป่าสงวนแห่งชาติดงหัวสาวพื้นที่บ้านน้ำพาก เมืองปทุมพร แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5 (ฉบับพิเศษ), 32-40.

ชลทิชา กำลังทรัพย์. (2554). แนวทางการฟื้นฟูนิเวศภูมิทัศน์ป่าไม้ในพื้นที่แนวกันชน: กรณีศึกษาพื้นที่แนวกันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. การค้นคว้าอิสระปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงส่องแสง แต้เฮง. (2558). การพัฒนารูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้: กรณีศึกษาเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตำบลทุ่งพระยา อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 10 (2), 17-32.

ปางคำ วิไลพรรณ. (2560). การเสริมสร้างความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าป้องกันแห่งชาติน้ำเงียบ-น้ำมัง โดยใช้การอบรมด้วยเทคนิค AIC: กรณีศึกษาหมู่บ้านท่าเฮือเมืองบลิคัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชชนลาว. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 14 (64), 75-84.

พรมมา วงล์นิลยอง และคณะ. (2010). โครงการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมต่อการฟื้นฟูป่าเขากระทูนเพื่อสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรป่าของชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชาอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการวิจัย. สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

พุทธพร รักชีวี และคณะ. (2554). การพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้ของราษฎรที่อาศัยอยู่รอบป่ากันชนของป่าสงวนแห่งชาติน้ำปุ๋ยแขวงไซยบุรีในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวนศาสตร์ไทย. 31 (3), 36-44.

สิทธิชัย คำเฟื่องฟู. (2561). เครือข่ายทางสังคมในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ จังหวัดน่าน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

หนูสอน สิงโต และคณะ. (2554). รูปแบบการฟื้นฟูป่าต้นน้ำภูหินเหล็กไฟโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านนาเจริญ ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม.

Forest Resource Management Sub-division, Luang Prabang Province. (2019). The Forest Reserved Area in Luang Prabang Province. Luang Prabang Province: Division of Agriculture and Forestry.

Lao National Assembly. (2018). Forest Law. Vientiane Capital: Ministry of Agriculture and Forestry.

Tourism Planning Division and Investment. (2018). The Social Economic Development Plan of Luang Prabang Province (2019-2020). Luang Rrabang Province: Luang Rrabang Tourism Sector.

Upland Agriculture Research Center. (2018). The Results of the Survey in Kuang Si Forest Watershed at Luang Prabang District, Luang Prabang Province. Luang Rrabang Province: Luang Prabang Provincial of Agriculture and Forestry.

#JSBS #TCI1 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-10