รูปแบบการยกระดับศักยภาพการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรอย่างยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อยในชุมชนท้องถิ่นบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
กิจกรรมทางการเกษตร, เกษตรกรรมยั่งยืนบนพื้นที่สูง, ศักยภาพของเกษตรกรรายย่อยบทคัดย่อ
การเผชิญกับปัญหานานัปการบนพื้นที่สูงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่สะสมมาตั้งแต่อดีตและกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันได้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่อาจส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยเกิดความระส่ำระสายในการประกอบอาชีพอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับศักยภาพการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรอย่างยั่งยืน และพัฒนารูปแบบการยกระดับศักยภาพการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรอย่างยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อยในชุมชนท้องถิ่นบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากตัวอย่างเกษตรกรรายย่อยที่ทำการเกษตรและอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่สูง จำนวน 375 คน ซึ่งมาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรมีศักยภาพการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมาก (=3.66) และ 2) รูปแบบการยกระดับศักยภาพการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรอย่างยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อยในชุมชนท้องถิ่นบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ประกอบไปด้วย 4 มิติ ได้แก่ มิติผลิตภาพ มิติความมั่นคงในการผลิต มิติความต่อเนื่อง และมิติการคงอัตลักษณ์ทางสังคม องค์ความรู้จากการวิจัย คือ แนวคิดเป้าหมายการประกอบอาชีพเกษตรกรรมสามารถใช้เป็นกรอบในการพัฒนารูปแบบการยกระดับศักยภาพการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรอย่างยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อยได้อย่างเหมาะสม โดยความมั่นคงในการผลิตมีความสำคัญมากที่สุดในการยกระดับศักยภาพการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรอย่างยั่งยืน รองลงมา ได้แก่ มิติผลิตภาพ มิติความต่อเนื่องของการผลิต และมิติการคงอัตลักษณ์ทางสังคม ดังนั้น การพัฒนาเกษตรพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ จึงควรมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาความมั่นคงในด้านการผลิตสินค้าเกษตรแก่เกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจากการมีตลาดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายมากขึ้น และสนับสนุนการเข้าถึงสิทธิในที่ดินทำกินเพื่อการเกษตร
References
กิติศักดิ์ ทองมีทิพย์. (2564). พัฒนาการเกษตรกรรมของประเทศไทย: ในมิติด้านการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. วารสารพัฒนศาสตร์. 4 (1), 132-162.
จันทร์จีรา ปาลี และอนุรัตน์ อนันทนาธร. (2563). การสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศไทย. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4 (1), 199-216.
ชวิตรา ตันติมาลา. (2564). การธำรงรักษาจารีตประเพณี “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดชัยนาท. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (9), 444-460.
ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการทรัพยากรดิน. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 47 (1), 81-118.
เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก. (24 กันยายน 2563). ความอุดมสมบูรณ์ของดินและการปรับปรุงดิน. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565, จาก https://ngthai.com/science/30913/soil-fert/
พิทยา สรวมศิริ. (2552). ชุมชนวิถีโลก: ข้อเสนอแนะแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนบนพื้นที่สูงภายใต้กระแสพัฒนาเศรษฐกิจโลก จากผลการวิจัยเชิงบูรณาการเชื่อมโยงมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้ความร่วมมือไทย-เยอรมัน (NRCT-DFG). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
พิทยา สรวมศิริ. (2555). คู่มือการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน: กลยุทธ์และแนวปฏิบัติสำหรับเกษตรกรและนักพัฒนา. เชียงใหม่: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 6 (2), 136-145.
วิศรา ไชยสาลี และสุรพล จันทราปัตย์. (2562). การวางและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชุมชนเพื่อผลในการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนเกษตรรายย่อยในตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. แก่นเกษตร. 47 (2), 347-360.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (6 กุมภาพันธ์ 2560). ผลิตภาพการผลิตของไทยกับจุดอ่อนในการขับเคลื่อน. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565, จาก https://piu.ftpi.or.th/wp-content/uploads/2017/06/TFP_rev2.pdf
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). (2560). แผนการวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงระยะ 8 ปี (พ.ศ. 2563-2570). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). (26 เมษายน 2562). การปรับปรุงดินบนพื้นที่สูง. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565, จาก https://www.hrdi.or.th/articles/Detail/35?fbclid=IwAR1YmCCHmAGA-xMPtYtbFjk0U_A-XALGv3yymJAGL0czjlISSj2x6W5txAY
สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2561-2565) ฉบับทบทวนรอบปี พ.ศ. 2563. เชียงใหม่: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.
Ajzen, I. (21 March 2016). Constructing a Theory of Planned Behavior Questionnaire. Retrieved June 9, 2022, from https://people. umass.edu/aizen/pdf/tpb.measurement.pdf
Etikan, I., and Bala, K. (2017). Sampling and Sampling Methods. Biometrics & Biostatistics International Journal. 5 (6), 215-215.
Food and Agriculture Organization of the United Nations. (11 December 2019). #MountainsMatter. Retrieved June 9, 2022, from http://www.fao.org/3/ca6779en/ca6779en.pdf
Food and Agriculture Organization of the United Nations. (11 December 2020). Mountain Biodiversity Matters. Let’s Protect Our Future!. Retrieved June 9, 2022, from http://www.fao.org/3/cb1930en/cb1930en.pdf
Hair, J. F., et al. (1998). Multivariate Data Analysis. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice-Hall.
Hair, J. F., et al. (2022). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). Thousand Oaks, California: SAGE Publications.
Kline, P. (1994). An Easy Guide to Factor Analysis. New York: Routledge.
Mulaik, S. A., and Millsap, R. E. (2000). Doing the Four-step Right. Structural Equation Modeling. 7, 36-73.
Reijntjes, C., et al. (1992). Farming for the Future. London: Macmillan Educ.
Schreiber, J. B., et al. (2006). Reporting Structural Equation Modeling and Confirmatory Factor Analysis Results: A Review. The Journal of Educational Research. 99 (6), 323-338.
Taber, K. S. (2018). The Use of Cronbach’s Alpha When Developing and Reporting Research Instruments in Science Education. Research in Science Education. 48 (6), 1273-1296.
United Nations General Assembly. (25 September 2015). Transforming Our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development. Retrieved June 9, 2022, from https://www.unfpa.org/sites/default/files/resource-pdf/Resolution_A_RES_70_1_EN.pdf
Wymann von Dach, S., et al. (2013). Mountain Farming is Family Farming: A Contribution from Mountain Areas to the International Year of Family Farming 2014. Rome: FAO, CDE, BOKU.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.