การพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคซีไออาร์ซี ร่วมกับแบบฝึกทักษะ

ผู้แต่ง

  • ศราวุฒิ พุทธบุรี หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • เกษกนก วรรณวัลย์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การอ่านจับใจความ, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิคซีไออาร์ซี, แบบฝึกทักษะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ “มาอ่านจับใจความกันเถอะ” โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคซีไออาร์ซีร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคซีไออาร์ซีร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ “มาอ่านจับใจความกันเถอะ” 4) แบบวัดความสามารถในการจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที

ผลการวิจัย พบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคซีไออาร์ซีร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.04/80.80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) 3. ความสามารถในการอ่านจับใจความหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) องค์ความรู้จากการวิจัย คือ นักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์จากเรื่องที่อ่านและจดบันทึกเรื่องที่อ่านได้ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนสามารถอ่านจับใจความได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ สามารถคิดวิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้ รู้จักแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ได้และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขวัญเรือน โพธิ์วิเชียร. (2538). ผลการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมซีไออาร์ซีที่มีต่อความสามารถในการอ่านเข้าใจความภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ. (2547). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: พี.เพรส.

ชวาล แพรัตกุล. (2552). เทคนิคการวัดผล, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจรัตน์ ปิ่นเวหา. (2549). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลงประกอบการสอน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แววมยุรา เหมือนนิล. (2538). การอ่านจับใจความ. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

ศิจิตราภรณ์ ศิลปะ. (2547). การพัฒนาสื่อประสมร่วมกับการเรียนการสอนแบบซีไออาร์ซี เรื่องการสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดแม่กด วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุวรรณา โคตรชมภู. (2556). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวรรณา ตั้งทีฆะรักษ์. (2543). การอ่าน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

แสนประเสริฐ ปานเนียม. (2552). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่สอนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC กับวิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-03