พลวัตทางการศึกษาพระพุทธศาสนาในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • วนิดา ชุลิกาวิทย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูวินัยธรบุญศรี ญาณวุฑฺโฒ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาจักรพล อาจารสุโภ (เทพา) คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พลวัต, การศึกษาพระพุทธศาสนา, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

พลวัตทางการศึกษาพระพุทธศาสนาในศตวรรษที่ 21 จัดเป็นการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงต่อการเรียนรู้ของสังคมโลก สำหรับบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์พลวัตทางการศึกษาพระพุทธศาสนาในศตวรรษที่ 21 พบว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาพระพุทธศาสนาในยุคนี้ส่งประสิทธิผลทางด้านบวกและก่อให้เกิดคุณค่า ทำให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปยังกลุ่มชนได้มาก แต่ต้องใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติ รู้จักมุ่งเน้นคุณค่าแท้มากกว่าคุณค่าเทียมและควบคุมอย่างพอเพียงทั้งด้านเวลาและปริมาณ ส่วนด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมพบว่า มีผลกระทบทางด้านลบ เนื่องจากหลักสูตรเข้าใจยาก เป็นสาเหตุให้พระภิกษุและสามเณรนิยมเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีน้อยลง การนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างสื่อการเรียนการสอนเพื่อเร้าความสนใจจะช่วยผู้เรียนให้สนใจในบทเรียนมากขึ้น นอกจากนั้น ในปัจจุบันหลักสูตรการศึกษาพระพุทธศาสนาภาคบังคับของเยาวชนได้ลดเนื้อหาและความสำคัญวิชาพระพุทธศาสนาลงให้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในรายวิชาสังคมศึกษาเท่านั้น เยาวชนจึงเรียนรู้พระพุทธศาสนาน้อยลง ส่วนการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ที่ไม่เหมาะสมและมากเกินไป ทำให้ความสนใจพระพุทธศาสนาลดน้อยลง การเรียนรู้พระสัทธรรมอย่างไม่ท่องแท้อาจจะนำไปสู่การเกิดความเข้าใจพระพุทธศาสนาที่คลาดเคลื่อนจากหลักคำสอนได้ องค์ความรู้ใหม่จากการศึกษา คือ พลวัตทางการศึกษาพระพุทธศาสนาประกอบด้วยผลกระทบด้านบวก เช่น เป็นการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี ส่วนด้านลบ เช่น ความไม่สอดคล้องของสภาพการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ซึ่งควรจะสมดุลและดำเนินไปพร้อมกันเพื่อขับเคลื่อนองคาพยพของพลวัตทางการศึกษาพระพุทธศาสนาต่อไป

References

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ และคณะ. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 25 (2), 178-193.

จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. (11 ตุลาคม 2561). ความท้าทายของศตวรรษที่ 21 กับการเรียนรู้ยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565, จาก https://knowledgefarm.tsri.or.th/new-educational-system/

เจมส์ มาร์ติน. (2553). โลกแห่งศตวรรษที่ 21. ภาพร. (ผู้แปล) กรุงเทพมหานคร: ประพันธ์สาส์น.

เดโช แขน้ำแก้ว. (2563). พุทธศาสนา: ขัดขวางหรือพัฒนาสังคม. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์. 5 (1), 1-11.

ธยายุส ขอเจริญ และพระมหาขุนทอง แก้วสมุทร์ (เขมสิริ). (2564). พลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมภายใต้ความสัมพันธ์ชายแดนไทยกัมพูชา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 6 (3), 379-390.

ประเวศ วะสี. (2552). คำบรรยายเรื่องการศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์.

พรชัย เจดามาน และคณะ. (31 มกราคม 2564). การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565, จาก https://www.kroobannok.com/88772

พระไพศาล วิสาโล. (2552). พุทธศาสนาไทยในอนาคต: แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระมหาประจักษ์ พนาลัย และนิรุทธ์ วัฒโนภาส. (2564). การเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4 (1), 374-387.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 11, 20. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภกาญจน์ วิชานาติ. (2562). ทักษะแห่งการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: ความท้าทายสำหรับครูสอนพระพุทธศาสนา. วารสารปัญญาปณิธาน. 4 (2), 81-94.

สยามรัฐออนไลน์. (2 สิงหาคม 2561). เกี่ยวกับพลวัตของรูปแบบและเนื้อหา. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565, จาก https://siamrath.co.th/n/41137

สำนักศาสนศึกษาวัดเทพลีลา. (2545). คู่มือเปิดตำราเรียนบาลี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวิทย์ ฝ่ายสงค์ และสิรินธร สินจินดาวงศ์. (2561). โรงเรียนพระปริยัติธรรม ยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 1 (1), 80-92.

หอมรดกไทย. (ม.ป.ป.). การศึกษาพระปริยัติธรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2565, จาก https://web.archive.org/web/20070609142440/http://www.heritage.thaigov.net/religion/misc/study1.htm

อมรรัตน์ เตชะนอก และคณะ. (2563). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (9), 1-15.

Salika. (24 กันยายน 2563). กระแสโลกาภิวัตน์ พลวัตที่เร่งให้ ‘การจัดการศึกษา’ ต้องรีบเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565, จาก https://www.salika.co/2020/09/24/globalization-on-thai-education-systems/

Thasak, T. (9 กุมภาพันธ์ 2565). ศาสนาจะเปลี่ยนไปอย่างไรในโลก Metaverse: ซึ้งในรสพระธรรมกว่าเคย? ชวนคุยเรื่อง ‘ศาสนา’ กับ Metaverse. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565, จาก https://missiontothemoon.co/metaverse-religion

The Buddh. (ม.ป.ป.). แนะการศึกษาคณะสงฆ์ศตวรรษที่ 21 ด้วย‘3R-7C’ ใช้ ‘Big Data-AI’ เสริมเผยแผ่พระพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565, จาก https://thebuddh.com/?p=43622

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-10