การพัฒนาความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ชุติลัค ชุ่มเย็น หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิชญา ผิวคำ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเขียนเชิงสร้างสรรค์, นักเรียนประถมศึกษา, การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลหลังเรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจม 2 บ้านน้ำรู ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาศรีสังวาลย์ ตำบลเมืองนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน 2) แบบประเมินกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการบรรยาย การหาค่าร้อยละและฐานนิยม

ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานที่พัฒนาขึ้นมีหลักการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นตั้งปัญหาและแบ่งกลุ่ม ขั้นการค้นและคิด ขั้นการนำเสนอ และขั้นการวัดและประเมินผล โดยกิจกรรมผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมระดับดีมาก สามารถใช้สำหรับพัฒนาความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน 2) นักเรียนมีความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน อยู่ในระดับดี องค์ความรู้จากการวิจัย คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เป็นกิจกรรมที่เรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม ทำให้ผู้เรียนสามารถเขียนเรื่องราวได้อย่างสร้างสรรค์ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครูควรทำความเข้าใจหลักการและกระบวนการก่อนนำไปใช้เพื่อให้กิจกรรมการเรียนรู้ดำเนินไปอย่างราบรื่นและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). เขียนให้เป็นด้วยปากกา. กรุงเทพมหานคร: ซีดเซดมีเดีย.

จงกล วจนะเสถียร. (2559). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนาธิป พรกุล. (2554). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลธิชา นำนา. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชาตรี เกิดธรรม. (2545). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

นาริสา กันหาสุข. (2555). การปฏิบัติการพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ชุดฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองดุมหนองม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

มยุรา กล่อมเจริญ. (2559). การใช้กิจกรรมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีสแกฟโฟลด์เพื่อพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุสดา จะปะเกีย. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาและความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัลภา ตั้งชีพชูชัย. (2552). การศึกษาความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์และความพึงพอใจในการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวการสอนภาษาแบบองค์รวมร่วมกับการใช้แผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และกิจวัฒน์ จันทร์ดี. (2558). คู่มือออกแบบการสอนในศตวรรษที่ 21. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 1 (2), 23-37.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2562). สอนสร้างสรรค์เรียนสนุกยุค 4.0+. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ค่าสถิติระดับโรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สนิท สัตโยภาส. (2556). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสืบค้น. กรุงเทพมหานคร: ธารอักษร.

สุทิตา ขัตติยะ. (2552). ศาสตร์การเขียน. กรุงเทพมหานคร: เปเปอร์เฮาส์.

อัจฉรา ชีวพันธ์. (2553). ภาษาพาสอน เรื่องน่ารู้สำหรับครูภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร เลิศณรงค์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนภาษาไทยโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง การเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ. 17 (1), 100-109.

Rogers, C. R. (1970). Towards a Theory of Creativity. In Vernon, P. E. (ed). Creativity. Hasmonds Worth: Penguin Book.

#JSBS #TCI1 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-21