การจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงวัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผู้แต่ง

  • ชวลิต ขอดศิริ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • วชิรา เครือคำอ้าย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ดารณีย์ พยัคฆ์กุล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษา, ผู้สูงวัย, การเรียนรู้ตลอดชีวิต

บทคัดย่อ

การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสง่างามและมีศักยภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนถึงการบริหารจัดการในระดับนโยบายของประเทศและเป็นบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในสังคม เนื่องจากสถานการณ์สังคมสูงวัยกลายเป็นประเด็นสำคัญของประเทศและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การจัดการศึกษาในรูปแบบของการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงวัยจึงเป็นหลักชัยของสังคม โดยนำแนวคิดสำคัญที่มาจากการศึกษาผู้สูงวัยขององค์การอนามัยโลกที่มุ่งเน้นการมีสุขภาพที่ดี มีหลักประกันในชีวิตและการมีส่วนร่วม โดยมีแนวทางจัดกิจกรรมการศึกษา 3 ประเภท ประกอบด้วย 1. การศึกษาความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ 2. กิจกรรมการฝึกอาชีพเพื่อสร้างรายได้และการพึ่งตนเอง 3. กิจกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยตระหนักถึงความสอดคล้องกับโลกยุคการเปลี่ยนแปลงฉับพลันทางดิจิทัลเพื่อนำมาสู่การประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมการดำเนินชีวิตสำหรับผู้สูงวัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันก่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความเป็นองค์รวมที่แสดงออกถึงความอยู่ดีมีสุข ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ มีความมั่นคงในชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมที่สอดคล้องบริบทของสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน องค์ความรู้ใหม่ คือ ด้านการเรียนการสอน มีการใช้หลักสูตรออนไลน์ผสมผสานกับห้องเรียนเสมือนจริง และด้านการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ มีหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เชื่อมโยงสู่โลกของการทำงานจริง เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัย

References

กมลชนก ขำสุวรรณ และมาดี ลิ่มสกุล. (2560). คุณค่าของผู้สูงอายุในระบอบของความเป็นจริง: ความท้าทายของนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ในปัจจุบัน. วารสารสังคมสงเคราะห์. 25 (1), 133-56.

กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และคณะ. (2553). คุณค่าผู้สูงอายุ: ภาพสะท้อนมุมมองจากคนสองวัย ประชากรและสังคม: คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร: เทพเพ็ญวานิสย์.

คาสปาร์ พีค และคณะ. (2558). รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พุทธศักราช 2558 “โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน”. กรุงเทพมหานคร: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

จักรกฤษณ์ สิริริน. (2 กันยายน 2561). จาก “ลงแขกเกี่ยวข้าว” สู่ “ธนาคารเวลา” ไอเดียเตรียมการล่วงหน้าก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2565, จาก https://www.salika.co/2018/09/02/time-bank/

ชวลิต ขอดศิริ และคณะ. (2564). ทิศทางและแนวโน้มของภาวะผู้นำทางการประถมศึกษาในยุค Digital Disruption. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 17 (1), 1-16.

ปณิธี บราวน์. (2557). พฤฒพลัง: บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุและทุนที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 30 (3), 97-120.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.

ศักรินทร์ ชนประชา. (2562). การศึกษาตลอดชีวิต. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย. 14 (26), 159-175.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2 ธันวาคม 2561). TEP เปิด “3 ปัญหาเก่า 2 ความท้าทายใหม่” การศึกษาไทยชวนภาคการเมืองล้อมวงคุยนโยบายแก้ไข สร้างคนไทยให้ทันโลก. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2565, จาก https://bit.ly/3Jh2XaC

สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2552). หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะนักบริหารระดับสูง กศน. เอกสารประกอบการฝึกอบรมการพัฒนาสมรรถนะนักบริหารระดับสูง กศน. ปีงบประมาณ 2552. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาการศึกษาไทยกับนานาชาติ: นวัตกรรมด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อยกระดับการศึกษาของแรงงานไทย. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). สถานภาพและบทบาทการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการจัดการศึกษาผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). โครงการศึกษาความร่วมมือระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาตามกฎหมายและแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

สุภจักษ์ แสงประจักษ์สกุล. (2558). ปัจจัยกำหนดระดับวุฒิวัยของผู้สูงอายุไทย. Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia (JSHRA). 21 (1), 139-167.

สุมาลี สังข์ศรี. (2544). การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา.

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2555). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ. วารสารครุศาสตร์. 40 (1), 14-28.

Cohen, L., et al. (2000). Research Methods in Education, 5th ed. London: Routledge.

Faure, E., et al. (2013). Learning to Be: The World of Education Today and Tomorrow, 3rd ed. Paris: The International Commission on the Development of Education, UNESCO.

United Nations. (2015). World Population Ageing 2015. New York: Department of Economic and Social Affairs.

World Health Organization. (2002). Active Ageing: A Policy Framework. Geneva: World Health Organization.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-09