การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลําปาง
  • ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเชียงใหม่
  • จอมพณ สมหวัง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติฯ
  • ปาณิสรา เทพรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลําปาง

คำสำคัญ:

การติดตามประเมินผล, กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร, ภาคเหนือตอนบน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และนำเสนอแนวทางพัฒนาการดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่านและอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนองค์กรเกษตรกร 495 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 90 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาตามขอบเขตการประเมิน ได้แก่ ด้านความเข้มแข็ง ด้านการดำเนินการตามแผน ด้านระเบียบกฎหมาย ด้านบุคลากร และด้านประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเห็นของเกษตรกรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =4.00; S.D.=0.46) เรียงลำดับมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความเข้มแข็ง (gif.latex?\bar{X}=4.11; S.D.=0.33) เกิดจากการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ด้านการดำเนินการตามแผน (gif.latex?\bar{X}=4.06; S.D.=0.16) เกิดจากผู้นำมีความรู้ในการจัดการกลุ่ม ด้านระเบียบกฎหมาย (gif.latex?\bar{X}=3.95; S.D.=0.63) เกิดจากการปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนด ด้านบุคลากร (gif.latex?\bar{X}=3.94; S.D.=0.63) เกิดจากผู้นำพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งโดยการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ และด้านประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (gif.latex?\bar{X}=3.93; S.D.=0.57) เกิดการสร้างรายได้ ลดต้นทุนการผลิต 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้านความเข้มแข็ง ควรมีการจัดทำแผนชีวิต การสร้างทายาทเกษตรกร ด้านการดำเนินการตามแผน ควรมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาก่อนทำโครงการ ด้านระเบียบกฎหมาย ควรกระจายการบริหารสู่สำนักงานภูมิภาค ด้านบุคลากร ควรทำฐานข้อมูลองค์กร การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควรพัฒนาช่องทางการตลาด การจัดการหนี้สินให้เชื่อมโยงกับสถาบันการเงิน องค์ความรู้จากการวิจัย พบว่า กองทุนฟื้นฟูมีบทบาทหลักในการพัฒนาเกษตรกรให้มีศักยภาพและนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). รายงานการประชุมคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกร. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ทศพล วิชัยดิษฐ. (2562). การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุน ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสมุทรปราการ. อินทนิลทักษิณสาร. 14 (1), 201-219.

ธัญญพันธ์ วัฒนจิรพันธุ์ และจงจิต ลิอ่อนรัมย์. (2564). แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มเกษตรกรตำบลไร่หลักทอง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (6), 298-312.

ปรารถนา ยศสุข และพงศกร กาวิชัย. (2560). ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมการนำนโยบายเกษตรอินทรีย์สู่การปฏิบัติในประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5 (1), 129-141.

พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542. (18 พฤษภาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 39 ก. หน้า 13-24.

พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง และศุภพร ไทยภักดี. (2559). ทัศนคติของนักวิชาการเกษตรต่อเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 32 (2): 70-79.

พิสัณฑ์ โบว์สุวรรณ และคณะ. (2565). ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 6 (1), 265-277.

มณภร มนุญศาสตรสาทร. (2556). การพัฒนายุทธศาสตร์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร โดยใช้เมทริกซ์การวางแผนยุทธศาสตร์เชิงปริมาณ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 4 (2), 61-70.

วรรณดี สุทธินรากร. (2559). แนวทางในการประสานความร่วมมือเพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกรในภาคเกษตรกรรมตามโครงการ Smart Officer และ Smart Farmer. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10 (2), 38-56.

วรรณภา วงค์สวรรค์ และคณะ. (2559). แนวทางการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินสะสมของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2559 เรื่องการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วันที่ 26 สิงหาคม. หน้า 343-350.

วิกานดา ใหม่เฟย และฐิระ ทองเหลือ. (2561). ประเมินผลโครงการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยชุมชนมีส่วนร่วม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6 (2), 285-294.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-04