ย่านเมืองเก่าสงขลา: มิติของการจัดการชุมชนสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • อริสา สายศรีโกศล คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ย่านเมืองเก่าสงขลา, การจัดการชุมชน , การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาห้วงเวลาตั้งแต่เริ่มต้นในการปรับตัวของเมืองสงขลาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เงื่อนไขในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงแนวคิดของผู้มีส่วนร่วมในการผลักดันการจัดการพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนย่านเมืองเก่าสงขลา เนื้อหาในบทความนี้ประกอบด้วยแนวคิดการจัดการ แนวคิดการจัดการชุมชน ภูมิหลังเมืองเก่าสงขลา รวมถึงการวิเคราะห์การบริหารจัดการชุมชนย่านเมืองเก่าสงขลา โดยมีภาคีคนรักเมืองสงขลาเป็นกลุ่มผลักดันให้ย่านเมืองเก่าสงขลาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อันเป็นกระบวนการขยายขอบเขตของระบบจัดการ ตั้งแต่ฐานรากของชุมชนให้หลอมรวมความเข้าใจในการอนุรักษ์ควบคู่กับการจัดการพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของชุมชนอย่างยั่งยืน เนื่องด้วยความโดดเด่นของคุณค่าเชิงอาคารสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ สวยงาม สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งมิติทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จึงทำให้เมืองสงขลาเป็นเมืองเก่าที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย องค์ความรู้ใหม่จากบทความนี้ทำให้เห็นปัจจัยทั้ง 2 ด้าน คือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจและด้านสถาปัตยกรรม ส่วนปัจจัยภายใน ได้แก่ ด้านศิลปวัฒนธรรมและด้านอาหาร อันทำให้เกิดปัจจัยในการจัดการชุมชนในย่านเมืองเก่าสงขลาให้กลายเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

References

จเร สุวรรณชาต. (2560). สงขลาสู่เมืองมรดกโลก. สงขลา: ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม.

ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2556). ชุมชน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข. (2559). ยล เยี่ยม เยือน เหย้า: แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1. (2565). ชาวอำเภอเมืองสงขลา. สัมภาษณ์. 21 เมษายน.

ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2. (2565). ชาวอำเภอเมืองสงขลา. สัมภาษณ์. 5 พฤษภาคม.

ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม. (ม.ป.ป.ก). เกี่ยวกับภาคี. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก https://www.songkhla-ht.org/about

ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม. (ม.ป.ป.ข). ร้อยเรื่องเมืองสงขลา. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/3XRVi

ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม. (21 ตุลาคม 2560). อัตลักษณ์แห่งสถาปัตยกรรม. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/1bocy

ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม. (27 กรกฎาคม 2562). กำแพงและประตูเมืองสงขลา. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/pW8ao

ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม. (28 กรกฎาคม 2560). โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น โรงสีข้าวโบราณอายุกว่า 100 ปี. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/VsYCG

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนา: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติเชิงรุก.นนทบุรี: บุ๊คพอยท์วิชาการ.

ว. จันทรวงศ์. (2554). ขนมปักษ์ใต้สงขลา. จุลสารสามิตภาค 9. 3 (3), 21-25.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2557). ฅนเฒ่าเล่าเรื่องเมืองสงขลา: สีสันวันวานย่านเมืองเก่า. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สกรรจ์ จันทรัตน์ และสงบ ส่งเมือง. (2532). การเริ่มต้นและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองสงขลาเก่า. กรุงเทพมหานคร: กองโบราณคดี กรมศิลปากร.

เสน่ห์ จามริก และยศ สันตสมบัติ. (2536). ป่าชุมชนในประเทศไทยแนวทางการพัฒนา เล่ม 1 ป่าฝนเขตร้อนกับภาพรวมของป่าชุมชนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2561). การจัดการชุมชน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Fayol, H. (1925). Industrial and General Administration. New Jersey: Clifton.

#JSBS #TCI1 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-02