วรรณกรรมพื้นบ้านไทย: คติธรรมจากเพลงพื้นบ้านจังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
วรรณกรรมพื้นบ้านไทย, เพลงพื้นบ้าน, คติธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อรวบรวมเพลงพื้นบ้านของจังหวัดพะเยา 2) เพื่อรวบรวมคติธรรมจากเพลงพื้นบ้านของจังหวัดพะเยา 3) เพื่อวิเคราะห์คติธรรมจากเพลงพื้นบ้านของจังหวัดพะเยา 4) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้คติธรรม เผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ศิลปินซอล้านนาจังหวัดพะเยา 11 คน และศิลปินค่าวจ้อยจังหวัดพะเยา 2 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้างและแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลศิลปินพื้นบ้านจังหวัดพะเยาประกอบด้วยศิลปินซอล้านนา 11 คน และศิลปินค่าวจ๊อย 2 คน โดยแบ่งเป็นเพลงซอล้านนา 15 สำนวน จ๊อยทั่วไป 3 สำนวน ค่าวจ๊อย 6 สำนวน เพลงกล่อมเด็ก 10 สำนวน 2) คติธรรมที่ได้รับ ได้แก่ (1) คติธรรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ 6 คติธรรม (2) คติธรรมเกี่ยวกับการแก้ปัญหา 1 คติธรรม (3) คติธรรมเกี่ยวกับการศรัทธาในความดี 4 คติธรรม (4) คติธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี 3 คติธรรม (5) คติธรรมกลุ่มสัจการแห่งตน 6 คติธรรม (6) คติธรรมเกี่ยวกับจารีตประเพณี 2 คติธรรม 3) การวิเคราะห์คติธรรมพบคุณค่าที่ได้รับในด้านภาษา ด้านสังคม ด้านประวัติศาสตร์ ด้านธรรมชาติวิทยาและด้านประเพณีวัฒนธรรม 4) การพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากคติธรรมพบว่า เป็นคติธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งต่อตนเองและสังคม เพราะเป็นคติธรรมที่สั่งสมและปฏิบัติในแนวเดียวกัน กระทั่งเป็นวิถีชีวิตและแรงผลักดันให้เกิดบรรทัดฐานทางสังคม องค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) การเป็นฐานข้อมูลเพลงพื้นบ้านในจังหวัดพะเยาเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และสืบสานต่อโดยเยาวชน 2) เป็นคติธรรมในการดำเนินชีวิต รวมถึงบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมและศูนย์กลางแห่งความสามัคคีของคนในสังคม
References
คำน้อย วิชา. (2565). ศิลปินซอจังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 1 มีนาคม.
จตุพร ศิริสัมพันธ์. (2552). เพลงพื้นบ้าน. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 34. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.
จิดาภา พรหมมณี. (2565). ศิลปินซอจังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 26 กุมภาพันธ์.
ดารากร บุญสม. (2559). การวิเคราะห์เพลงพื้นบ้านจังหวัดอ่างทอง: กรณีศึกษาผลงานเพลงของพ่อเพลงมังกร บุญเสริม. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไทย ทิพย์เนตร. (2565). ศิลปินซอจังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 27 กุมภาพันธ์.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2526). มหาชาติลานนา: การศึกษาในฐานะที่เป็นวรรณคดีท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
พงษ์ศักดิ์ ดวงทิพย์. (2565). ศิลปินซอจังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 26 กุมภาพันธ์.
พระปลัดพงศ์ศิริ พุทฺธิวํโส และคณะ. (2562). ความเชื่อของคนพะเยาจากนิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้านจังหวัดพะเยา. พะเยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา.
พิรัฐชญากานต์ ดอนแก้ว. (2565). ศิลปินซอจังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 27 กุมภาพันธ์.
ภริมา วินิธาสถิตย์กุล และพระมหาจิรฉันท์ จิรเมธี. (2558). คติชนวิทยา: ความเชื่อกับสังคมไทย. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 1 (1), 31-44.
วรรณกรรมขับขานล้านนา. (ม.ป.ป.). นายอ้วน ขันทะวงศ์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564. จาก http://lannainfo.library.cmu.ac.th/lannapoetry/people/auan-khanthawong
ศิราพร ฐิตะฐาน ณ ถลาง. (2537). ในท้องถิ่นมีนิทานและการละเล่น: การศึกษาในฐานะที่เป็นวรรณคดีท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
สภาวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา. (2548). โครงการเก็บข้อมูลด้านศิลปการแสดงจังหวัดพะเยา (ซอ). พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.
สมทรง จันทร์สุเทพ และคณะ. (2525). วรรณกรรมพื้นบ้านไทย: คติธรรมที่ได้จากเพลงพื้นบ้านจังหวัดสิงห์บุรี. รายงานการวิจัย. งานวิจัย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
สมาคมศิลปินซอล้านนา. (ม.ป.ป.). คณะกรรมการสมาคมศิลปินขับขานซอล้านนา. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2565, จาก http://sorlanna.com/
สุข ใจฉลาด. (2565). ศิลปินซอจังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 27 กุมภาพันธ์.
เสงี่ยม วิชา. (2565). ศิลปินซอจังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 1 มีนาคม.
เสน่หา บุญยรักษ์. (2545). การศึกษาภาพสะท้อนจังหวัดพิษณุโลกและคุณค่าเชิงวรรณศิลป์จากเพลงพื้นบ้าน. รายงานการวิจัย. สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.
หวัน ยินดี. (2565). ศิลปินซอจังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 26 กุมภาพันธ์.
อุบล กุลศรี. (2565). ศิลปินซอจังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 25 กุมภาพันธ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.